Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                          56



                          ขอมูลผลการวิเคราะหคุณคาทางอาหารของ  อาหารหยาบ  และ  อาหารขน   แบบ  Proximate

                   Analysis   และ   ถาทราบเยื่อใยในรูปของ   ADF   และ  NDF  ก็จะมีประโยชนมาก    สวนคา
                   พลังงานในรูปของยอดโภชนะที่ยอยได ( TDN ) ถาไมไดแสดงไวสามารถคํานวณไดโดยใชคาโภชนะจาก

                   ผลการวิเคราะหอาหารแบบ  Proximate  Analysis  มาคํานวณก็ได

                    2.  การคํานวณและจัดสัดสวนอาหารโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป
                          การคํานวณและการจัดสัดสวนการใหอาหารโคนมในปจจุบันนิยมใชโปรแกรม ( Software )

                   สําเร็จรูปในการคํานวณ    ซึ่งมีทั้งภาษาไทย   และ   ภาษาอังกฤษ   ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยใชพื้นฐานความ

                   ตองการอาหารโคนมจากตาราง  NRC   เนื่องจากสะดวก  รวดเร็ว  และคํานวณใหไดโภชนะอาหารหลาย ๆ

                   ชนิดใหตรงกับความตองการของโคไดมากกวาการใชเครื่องคิดเลขธรรมดา       ดังนั้นการจัดสัดสวนอาหาร
                   จึงเปนวิธีที่ดีที่สุดในการคํานวณและการจัดการใหอาหารโคแตละระยะ      แตเนื่องจากเกษตรกรรายยอย

                   อาจมีขอจํากัดและขาดความรูความเขาใจในการใหอาหารโคนมจึงมักใชวิธีการประมาณเชน  โครุน  โคสาว

                   ใหอาหารขน  1 – 2  กิโลกรัม ตอ วัน     สวนโครีดนมใหอาหารขน  1  กิโลกรัม  ตอ  ผลผลิตน้ํานม  2 – 3
                   กิโลกรัม  เปนตน   ซึ่งก็ใกลเคียงสําหรับคุณภาพอาหารหยาบที่อยูในระดับดี เทานั้น      สวนอาหารหยาบที่

                   มีคุณภาพปานกลาง ถึง ต่ํา  โคจะไดรับโภชนะอาหารต่ํากวาความตองการสงผลใหโคมีการเจริญเติบโตชา

                   ใหผลผลิตน้ํานมต่ํา    มีปญหาระบบสืบพันธุ   เปนตน
                          สําหรับการใหอาหารโคทดแทนระยะที่สําคัญไดแก  โคระยะหยานม ถึง  6  เดือน  และ  โคระยะ  6

                   -  10  เดือน  ซึ่งมีการพัฒนาและเติบโตทั้งรางกายและระบบเตานมอยางรวดเร็ว   แตเกษตรกรมักใหอาหาร

                   คุณภาพต่ําทําใหโครุนระยะนี้ชงักการเจริญเติบโตเติบโต

                          ในครั้งนี้ขอแนะนําโปรแกรมการคํานวณและจัดสัดสวนอาหารโคนม   ที่เปนภาษาอังกฤษชื่อวา

                   DART  version 5.0  ของ  Dairy  Records  Processing  Center  ,  Raleigh  ,  North  Carolina ,  USA  ซึ่ง
                   ใชไดงาย  มีความยืดหยุนในการใชงาน     ไดทดลองใชจัดสัดสวนอาหารโคนมโครงการ ไทย – แคนาดา

                   ซึ่งเลี้ยงอยูที่ศูนยวิจัยและบํารุงพันธุสัตวเชียงใหมตั้งแตป  2533    ตลอดจนฟารมเอกชนหลาย ๆ แหงใน

                   ประเทศไทย  ซึ่งไดผลเปนที่นาพอใจ         สําหรับตัวอยางการจัดสัดสวนการใหอาหารโคนมทดแทนตาม
                   ตารางที่   5 – 3  ถึง  5 – 7    สําหรับเกษตรกร หรือ  ผูสนใจที่ไมสามารถคํานวณไดเอง    สําหรับไวเปน

                   แนวทางในการปฏิบัติ   โดยจัดสัดสวนอาหารโคนมทดแทนที่อายุตาง  ๆ  ตามคุณภาพอาหารหยาบซึ่งแบง

                   ออกเปน    5  กลุม  เสริมดวยอาหารขน  ชนิดตาง ๆ ที่มีจําหนาย  หรือ เกษตรกรสามารถผสมไดเอง  ดังนี้
                                 ตารางที่  5 – 3       เมื่อใชอาหารหยาบคุณภาพดีมาก

                                 ตารางที่  5 – 4       เมื่อใชอาหารหยาบคุณภาพดี
                                 ตารางที่  5 – 5       เมื่อใชอาหารหยาบคุณภาพปานกลาง

                                 ตารางที่  5 – 6       เมื่อใชอาหารหยาบคุณภาพต่ํา
                                 ตารางที่  5 – 7       เมื่อใชอาหารหยาบคุณภาพต่ํา ( ฟางขาว )

                    ตารางที่  5 – 2  ความตองการโภชนะสําหรับอาหาร ( Diets )โคนมทดแทนระยะตาง ๆ ( ตอน้ําหนักแหง  )
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71