Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โรคสุกร                                                                                 15



               โรคซัลโมแนลโลซีสหรือโรคพาราไทยฟอยด

                              โรคนี้เปนโรคระบาดที่พบเกิดขึ้นไดกับ
               สุกรทุกอายุอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายสูง



               สาเหตุและอาการของโรค
                              เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อตัวนี้จะเขาสู

               รางกายสุกรไดโดยการกินอาหาร  และนํ้ าที่มีเชื้อโรคตัวนี้
               ปนอยู หรือโดยการกินกระดูกปนที่มีเชื้อตัวนี้ปนอยูหรือ

               โดยการสัมผัสกับสัตวฟนแทะ  หรือนกปาที่เปนตัวพาโรคนี้  และเมื่อเขาสูรางกายแลวจะใชเวลาในการ
               ฟกโรคนานประมาณ 1-2 วัน สุกรจะแสดงอาการปวยใหเห็นอาการปวยที่พบไดมีอยู 4 แบบดวยกัน
                              1.  แบบแรก  มักพบเปนกับลูกสุกร  โดยอาการปวยจะเกิดแบบฉับพลัน  ไขสูง  105-

               107 องศาฟาเรนไฮต สุกรจะซึมและตายภายใน 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบวาผิวหนังมีสีแดงเขม
               จนถึงสีมวง  โดยเฉพาะที่ขอบตาและใตทอง  อาการทางประสาทอาจพบ  และอัตราการตายพบไดสูงถึง

               100 เปอรเซ็นต
                              2. แบบที่สอง มักพบกับสุกรที่มีอายุมากหรือสุกรใหญ อาการที่พบไดคือ ไขสูง 105-

               107 องศาฟาเรนไฮต ทองเสียเปนนํ้ าอยางรุนแรง อุจจาระมีกลิ่นเนา เปนมูกและอาจพบเยื่อเมือกของ
               ลํ าไสปนดวย

                              3.แบบที่สาม อาการที่พบไดคือ ไขสูง 103-104 องศาฟาเรนไฮต อุจจาระนิ่ม เบื่อ
               อาหาร  และบางรายพบอาการสูญเสียนํ้ า  เชน  ผิวหนังขาดความยืดหยุน  ตาจมลึก  ขนลุก  ซูบผอมลง
               เรื่อยๆ และตายในที่สุด

                              4.แบบที่สี่ แบบนี้พบวาสุกรเปนมาก อาการที่พบไดคือ ทองเสีย โดยพบเปนๆ หายๆ
               ไขไมคงที่ ผอมแหง และตอบสนองตอการรักษาไดนอย (อุจจาระอาจปกติหรืออาจมีมูกหรือเลือดปน)



                       การปองกัน

                              โรคซัลโมแนลโลซีสหรือโรคพาราไทฟอยดสามารถปองกันไดโดย
                              1.  กํ าจัดสุกรที่เปนตัวอมโรค

                              2.  มีการกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม
                              3.  มีการจัดการควบคุมโรคที่เขมงวด
                              4.  ระวังการใชวัตถุดิบอาหารสัตวจากโรงฆา

                              5.  มีการสุขาภิบาลที่ดี



                       การรักษา
                              โรคซัลโมแนลโลซีสเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ยาที่จะใชรักษาโรคนี้ได  ไดแกยาปฏิชีวนะ

               เชน ยานีโอมัยซิน หรือยาเตตราไซคลิน หรือยาซัลโฟนามาย หรือยาไนโตรฟูราโซน





                                  ๐ กลับไปหนากอนนี้   ๐ หนาถัดไป   ๐ กลับหนาหลัก/สารบัญ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20