Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โรคสุกร 18
ในการฟกโรค โดยทั่วไปประมาณ 10-14 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการปวยของโรคใหเห็น อาการที่พบ
ไดคือ เกิดการแข็งตัวของกลามเนื้อบริเวณแกม คอ ขาหลัง และบริเวณที่มีการติดเชื้อ หลังจากนั้นจะพบ
อาการกระตุก และไวตอการแสดงออก การเคี้ยวอาหารลํ าบาก หางแข็ง หัวและคอยืด และขาแข็งแกรง
การปองกัน
โรคบาดทะยักสามารถปองกันไดโดย
1. โรคนี้เกิดจากเชื้อโรคเขาบาดแผล ฉะนั้น การตัดสายสะดือและการตอนตองทํ าดวย
ความสะอาด
2. ภายหลังการผาตัดหรือการตอน ควรใหยาปฏิชีวนะเพื่อปองกันโรคบาดทะยัก
3. มีการสุขาภิบาลที่ดี
การรักษา
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาที่ใชรักษาโรคนี้ไดแก
1. ยาปฎิชีวนะเชน ยากลุมเพ็นนิซิลิน
2. หรือใหยาแอนตี้ท็อกซิน
3. หรือใหยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์การทํ าลายกวาง เชน ยาคลอแรมเฟนนิคอล หรือ
ยาคลอเตตราไซคลิน เปนตน
โรคทองเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล
โรคนี้เปนโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร พบวาเปนไดกับสุกรทุกอายุโดยเฉพาะลูกสุกร
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้สามารถพบไดในทางเดินอาหารปกติและเมื่อ
รางกายสุกรออนแอ เชื้อโรคก็จะเพิ่มจํ านวนมากขึ้น ซึ่งเปนผลใหสุกรปวย ความรุนแรงของโรคขึ้นอยูกับ
อายุของสุกรที่ปวย คือ ถาเปนกับลูกสุกรแรกคลอดมักพบวาลูกสุกรปวยจะตายดวยอาการโลหิตเปนพิษ
โดยไมพบอาการทองเสีย สํ าหรับลูกสุกรปวยที่ไมตาย จะพบอาการทองเสีย ขนหยาบ รางกายสูญเสีย
นํ้ าและผอมแกรน
สุกรรุนที่เกิดอาการทองเสียเนื่องจากเชื้ออี.โคไล มักเนื่องมาจากการกินหรือหายใจเอา
เชื้อโรคตัวนี้เขาไป
การปองกัน
โรคทองเสียที่เกิดจากเชื้ออี.โคไล สามารถปองกันไดโดย
1. มีการจัดการเลี้ยงดูและอาหารที่ดีสํ าหรับแมสุกรทองและเลี้ยงดู
2. มีการสุขาภิบาลที่ดี
3. ลูกสุกรแรกคลอดตองใหไดกินนํ้ านมเหลืองจากแมสุกร
๐ กลับไปหนากอนนี้ ๐ หนาถัดไป ๐ กลับหนาหลัก/สารบัญ