Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โรคสุกร 14
โรคไฟลามทุง
โรคนี้เปนโรคระบาดที่สามารถติดตอถึง
คนได ความรุนแรงของโรคนี้อาจจะมีผลเนื่องจากพันธุ
กรรม คุณคาของอาหารที่ใชเลี้ยง การสุขาภิบาล อุณหภูมิ
ของสภาพแวดลอม หรือฤดูกาล
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้จะ
เขาสูรางกายสุกรไดโดยการกินนํ้ าและอาหารที่มีเชื้อโรค
ตัวนี้ปนอยู หรือโดยการสัมผัสกับสุกรปวยโดยตรง และ
เมื่อเชื้อเขาสูรางกายสุกรแลว จะใชเวลาในการฟกโรค
นานประมาณ 3-4 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการปวยของ
โรคใหเห็น อาการที่พบเห็นไดมีอยู 4 แบบดวยกัน
1. แบบแรก สุกรปวยจะแสดงอาการแบบฉับพลัน และอาจตายไดโดยไมแสดงอาการ
ปวยใหเห็น อาการที่พบไดคือ ไขสูง 104-108 องศาฟาเรนไฮต ซึม เบื่ออาหาร หนาวสั่น นอนสุมกัน
ตาแดง ไอ มีขี้มูกขี้ตา ทองผูกตามดวยอาการทองเสียอยางรุนแรง (บางตัวอาจพบอาการอาเจียน)
2. แบบที่สอง สุกรปวยจะแสดงอาการที่ผิวหนัง คือจะพบอาการบวมที่ผิวหนังซึ่งมี
ลักษณะคลายรูปขาวหลามตัด หรือเปนหยอมสีแดงจนถึงสีมวงที่บริเวณทอง ตนขา และลํ าตัว (สุกรปวย
ที่ฟนจากโรคจะพบวาผิวหนังที่มีรอยโรคจะลอก)
3. แบบที่สาม สุกรปวยจะแสดงอาการที่ขอขา คือจะพบอาการเดินขากระแผลกหรือ
เดินในลักษณะขาไมสัมพันธกัน ซึ่งเปนผลเนื่องจากขออักเสบโดยเฉพาะที่ขอเขาหนาและเขาหลัง
4. แบบที่สี่ สุกรปวยจะตายแบบทันทีหรืออาจพบอาการบวมที่ปลายจมูก หู และสวน
อื่นของรางกาย
การปองกัน
โรคไฟลามทุง สามารถปองกันไดโดย
1. มีการกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม
2. มีการจัดการควบคุมโรคที่เขมงวด
3. มีการเลี้ยงดูและอาหารที่ดี
4. มีการสุขาภิบาลที่ดี
การรักษาโรค
โรคไฟลามทุงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาที่จะใชรักษาโรคนี้ไดแก ยาปฏิชีวนะในกลุมของ
ยาเพ็นนิซิลิน และยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ทํ าลายเชื้อไดกวาง
๐ กลับไปหนากอนนี้ ๐ หนาถัดไป ๐ กลับหนาหลัก/สารบัญ