Page 13 -
P. 13
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
ุ
ั
อิทธิพลต่อบุคคลผู้นั้น กระบวนการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือการสื่อสารระหว่างบุคคลและการ
สื่อสารมวลชน ซึ่งในปัจจุบันได้เพิ่มการสื่อสารแบบกึ่งกลาง จึงทำให้การสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:
1. การสื่อสารระหว่างบุคคล คือการสื่อสารโดยตรงระหว่างคน 2 คนหรือมากกว่า 2 คนในระยะห่างทางกาย
พอที่จะเลือกใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมีปฏิกิริยาตอบสนองแบบปัจจุบันทันที
2. การสื่อสารมวลชน คือการสื่อสารที่มุ่งไปที่ผู้รับจำนวนค่อนข้างมากและไม่รู้จักมักคุ้นกัน และมีความแตกต่าง
กันในหมู่ผู้รับ โดยมีการถ่ายทอดสารอย่างเปิดเผยและกำหนดเวลาให้ถึงกลุ่มผู้รับสารพร้อม ๆ กัน
่
3. การสื่อสารแบบกึ่งกลาง คือการสื่อสารโดยมีเครื่องมือเทคนิคภายใต้สถานภาพที่คอนข้างจำกัด โดยมีผู้สื่อสาร
ที่สามารถระบุตัวตนได้ การสื่อสารประเภทนี้ถือว่าเป็นการสื่อสารขั้นกลางที่มีลักษณะทั้งที่เหมือนกับการ
ี
สื่อสารระหว่างบุคคล คือ การสื่อสารแบบกึ่งกลางมีจำนวนผู้รับสารน้อย โดยมากจะมีเพยงคนเดียวและเป็นผู้
ที่ผู้ส่งสารรู้จัก การส่งสารจะทำภายใต้สถานการณ์ที่จำกัด
วอร์เรน วีเวอร์ (Warren W. Weaver) อ้างถึงใน ปรมะ สตะเวทิน (2538, 5) ให้คำอธิบายว่า
“การสื่อสารในที่นี้มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่งอาจมีผลต่อจิตใจของคน
อีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่หมายความแต่เพียงการเขียนการพูดเท่านั้น หากยังรวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดง
เอกสาร เครื่องมือ และพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย”
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
Alex S. Tan (1986) (อ้างถึงในเกศินี พรโชคชัย, 2545) กล่าวว่าปัจจัยในการสื่อสารที่มักจะมีการกล่าวถึง
บ่อย ๆ ว่าเป็นตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการส่งสารไปยังผู้รับสารก็คือกระบวนการการเลือกสรร
ของผู้รับสาร แม้ว่าจะได้รับการตระเตรียมมาอย่างพถีพถัน ใช้ผู้ถ่ายทอดที่มีความสามารถและความน่าเชื่อถือสูง หรือ
ิ
ิ
ใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพมากก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้รับประกันความสำเร็จของการสื่อสารไปยังผู้รับตามที่ผู้ส่งต้องการได้
ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะผู้รับสารมีกระบวนการเลือกรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ตามความ
ต้องการ ตามความเชื่อ ตามทัศนคติ ตามความรู้สึกนึกคิดที่ไม่เหมือนกัน กระบวนการเลือกสรรนั้นเปรียบเสมือนเครื่อง
กรองข่าวสารในการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยการกลั่นกรองทฤษฎีการแสวงหาข่าวสารโดยผ่านกระบวนการ
เลือกสรรสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ
1. การเลือกเปิดรับหรือเลือกสนใจ (Selective Exposure or Selective Attention)
การเลือกเปิดรับหรือเลือกสนใจหมายถึงแนวโน้มที่ผู้รับสารจะเลือกสนใจหรือเปิดรับข่าวสารจาก
ิ
แหล่งใดที่มีอยู่ด้วยกันหลายแหล่ง เช่น การเลือกซื้ออ่านหนังสือพมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่ง เลือกเปิดวิทยุกระจายเสียง
สถานีใดสถานีหนึ่ง ทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกเปิดรับนี้ได้มีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง และพบว่าการเลือกเปิดรับ
ข่าวสารมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ
2. การเลือกรับรู้หรือเลือกตีความ (Selective Perception)
การเลือกรับรู้หรือเลือกตีความเป็นกระบวนการกลั่นกรองขั้นต่อมา เมื่อบุคคลเลือกเปิดรับข่าวสาร
จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ว่าข่าวสารนั้นจะถกรับรู้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารทั้งหมด ผู้รับสารแต่ละคน
ู
่
อาจตีความหมายข่าวสารชิ้นเดียวกันที่ส่งผ่านสื่อมวลชนไมตรงกัน ความหมายของข่าวสารที่ส่งถึงจึงไม่ได้อยู่ที่ตัวอักษร
รูปภาพ หรือคำพูดเท่านั้น แต่อยู่ที่ผู้รับสารจะเลือกรับรู้ เลือกตีความหมายความเข้าใจของตัวเอง หรือตามทัศนคติ
ตามประสบการณ์ ตามความเชื่อ ความต้องการ ความคาดหวัง แรงจูงใจ ตามสภาวะทางร่างกายหรือสภาวะอารมณ์
ขณะนั้น
Development of Electronic Guidance Books at Kasetsart University from Hard Copy to E-book : A Study of User Satisfaction and Impact 12 | P a g e