Page 35 -
P. 35
์
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
26
จากตารางที่ ๒.๑ พบจำนวนชุดดินในจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งสิ้น ๓๓ ชุดดิน โดยใน
พื้นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำสุพรรณบุรีจะเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนของลำน้ำที่ถูกพัดพา
มาบริเวณทั้งสองฝั่งแม่น้ำ เกิดเป็นตะกอนรูปพัดและตะกอนลำน้ำที่ผสมกับตะกอนน้ำทะเลเก่า
๒.๑.๕ แหล่งน้ำ
เนื่องด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำจึงมี
ความจำเป็นอย่างมากสำหรับใช้ในด้านการเกษตร แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีสำหรับใช้
เพื่อการเกษตรมีดังนี้
๑) แม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) เป็นแม่น้ำที่ไหลแยกสายออกจากแม่น้ำ
เจ้าพระยาในพื้นที่เขตตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ผ่านจังหวัดชัยนาท (แม่น้ำมะขาม
เฒ่า) เข้าสู่เขตจังหวัดสุพรรณบุรีผ่านอำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพน้อง ก่อนจะไหลเข้าสู่จังหวัดนครปฐม รวมความ
ี่
ยาวทั้งสิ้นประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๖๐ เมตร ในอดีตพอถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะเอ่อล้น
ท่วมบ้านเรือน ไร่นา ในปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อภูมิพลทำให้สามารถช่วยบรรเทา
ปัญหาดังกล่าวเพื่อควบคุมน้ำให้ไหลลงสู่ทะเล
๒) ลำห้วยกระเสียว เป็นลำห้วยสาขาของแม่น้ำสุพรรณบุรี มีความยาวประมาณ
๑๔๐ กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่บริเวณระหว่างเขาเหลวและเขาใหญ่เหนืออำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
ไหลเข้าสู่จังหวัดสุพรรณบุรีในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำสุพรรณบุรีที่บ้านทึง
อำเภอสามชุก เนื่องจากลำห้วยกระเสียวมีพื้นที่รับน้ำมากกว่าลำห้วยอื่น ๆ จึงได้มีโครงการกระเสียว
ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนเก็บน้ำ เขื่อนทดน้ำ ระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ และถนนขนส่ง
๓) คลองจรเข้สามพัน เป็นคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาในจังหวัดกาญจนบุรีเข้าสู่
จังหวัดสุพรรณบุรีบริเวณอำเภออู่ทอง โดยไหลผ่านตำบลอู่ทอง ตำบลกระจัน ตำบลเจดีย์ อำเภออ ู่
ทอง ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอบางปลาม้า ตำบลหัวโพธิ์ ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง มาสิ้นสุดที่
คลองสองพี่น้องและไหลไปบรรจบกับแม่น้ำท่าจีน
๔) แหล่งน้ำธรรมชาติผิวดินอื่น ๆ ได้แก่ แม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง จำนวน ๔๑๖
สาย มีหนอง บึง ๖๗ แห่ง มีน้ำพุ น้ำซับ ๑๓ แห่ง เป็นแหล่งใช้ประโยชน์เพอการอุปโภค บริโภค เพอ
ื่
ื่
ทำเกษตรกรรม เช่น คลองสองพี่น้อง คลองสาลี คลองบางยี่หน และคลองบางลี่ เป็นต้น อย่างไรก็
ตาม แหล่งน้ำเหล่านี้ยังต้องได้รับการพัฒนา ขุดลอก ก็สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำประโยชน์
ด้านเกษตรกรรม อุปโภค บริโภค และยังสามารถใช้ช่วยระบายน้ำลงสู่แม่น้ำสุพรรณบุรีเพื่อช่วย
บรรเทาปัญหาการเกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากอีกเช่นกัน
๒.๑.๖ การใช้ที่ดิน
การใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดสุพรรณบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภทการใช้
ประโยชน์ตามแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ของกรมพัฒนาที่ดิน (๒๕๖๔) ดังแสดงใน
ภาพที่ ๒.๓