Page 37 -
P. 37

ิ
                                   ื
                                     ิ
                                               ิ
                                                  ์
                                                                                ิ
              โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       28




                                     จากภาพที่ ๒.๓ กรมพัฒนาที่ดิน (๒๕๖๔) ได้จัดกลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินพร้อม
                                                                                                  ื้
                       กำหนดสัญลักษณ์ ได้แก่ ๑) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) ๒) พื้นที่เกษตรกรรม (A) ๓) พนที่ป่าไม้
                       (F) ๔) พื้นที่น้ำ (W) และ ๕) พื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทมีพื้นที่ใช้
                       ประโยชน์ดังแสดงในตารางที่ ๒.๒


                       ตารางที่ ๒.๒ ขนาดพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทในจังหวัดสุพรรณบุรี
                        สัญลักษณ์            ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน          ขนาดพื้นที่ (ไร่)   ร้อยละ

                            U      พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง                      ๓๓๑,๒๓๖        ๙.๙๐
                            A      พื้นที่เกษตรกรรม                                ๒,๔๒๖,๑๖๔  ๗๒.๔๔
                            F      พื้นที่ป่าไม้                                     ๓๙๑,๑๗๕  ๑๑.๖๘
                            W      พื้นที่น้ำ                                        ๑๔๒,๖๕๕        ๔.๒๖

                            M      พื้นที่เบ็ดเตล็ด                                    ๕๗,๕๒๕       ๑.๗๒
                                            รวมพื้นที่ทั้งหมด                      ๓,๓๔๘,๗๕๕  ๑๐๐.๐๐


                                     จากตารางที่ ๒.๒ พื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ที่มีขนาดมากที่สุดเนื่องจากเป็น
                       กิจกรรมหลักในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยพื้นที่ทำนาข้าวเป็นลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพนที่
                                                                                                       ื้
                       เกษตรกรรมที่มีปริมาณมากที่สุด คิดเป็นพื้นที่ ๑,๒๒๕,๐๑๒ ไร่ หรือร้อยละ ๓๖.๕๘ ของพื้นที่จังหวัด
                       สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาร่วมกับชุดดินในจังหวัดสุพรรณบุรี (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัด

                       สุพรรณบุรี, ๒๕๖๔) พบว่า ดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวมีเนื้อที่รวมประมาณ
                       ๑,๓๔๗,๑๒๘ ไร่ หรือร้อยละ ๔๐.๒๓ ของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนพืชไร่อื่น ๆ ที่นิยมปลูกใน
                       จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด คิดเป็นพื้นที่ ๗๓๐,๓๘๑ (ร้อยละ ๒๑.๘๑)

                       ๖๑,๕๐๐ (ร้อยละ ๑.๘๔) และ ๓๗,๗๙๕ (ร้อยละ ๑.๑๓) ไร่ ตามลำดับ

                       ๒.๒ บริบทด้านการปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี


                              ๒.๒.๑ การใช้ดินเพื่อการปลูกข้าว
                                     ลักษณะพื้นที่และดินที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีมีความเหมาะสมต่อการทำนาข้าว
                       เนื่องจากลักษณะพนที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านทางด้านตะวันออกของจังหวัดในแนว
                                      ื้
                       เหนือ-ใต้ ส่งผลให้รอบบริเวณสองฝั่งน้ำอุดมไปด้วยตะกอนจากแม่น้ำซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการ

                       ปลูกข้าวเป็นอย่างมาก ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ปลูกข้าว (รวม
                       พื้นที่นาที่ใช้ปลูกพืชอนนอกฤดูทำนา) ทั้งสิ้น ๑,๓๐๔,๖๙๔ ไร่ (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัด
                                        ื่
                       สุพรรณบุรี, ๒๕๖๔) ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่นาปีและนาปรังตามพื้นที่เขตชลประทาน ส่งผลให้รอบการ
                       ผลิตของข้าวในแต่ละอำเภอมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและน้ำจากชลประทานดัง

                       แสดงในภาพที่ ๒.๔ (Singkawat & Intarat, in press)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42