Page 31 -
P. 31
์
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
22
ทิศตะวันออก มีแนวลูกคลื่นลอนชันถึงเนินเขาเทลาดมาทางทิศตะวันออกจนถึงแม่น้ำสุพรรณบุรี
(สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ๒๕๖๔)
๒.๑.๓ ภูมิอากาศ
จากลักษณะที่ตั้งของจังหวัดสุพรรณบุรีส่งผลให้พื้นที่ในจังหวัดอยู่ภายใต้อทธิพลของ
ิ
ลมมรสุมตะวันออกฉียงเหนือซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ทำให้พื้นที่ได้รับ
สภาวะหนาวเย็น และแห้งแล้งกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านในฤดูฝน ส่งผลให้พื้นที่จังหวัด
สุพรรณบุรีมีฝนตกและอากาศชุ่มชื้น (ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา, ๒๕๖๖) โดยฤดูกาลใน
จังหวัดสุพรรณบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ฤดู ได้แก่ ๑) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึง
กลางเดือนกุมภาพันธ์ จากอิทธิพลของลมมรุสมตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เนื่องจากที่ตั้งของจังหวัด
สุพรรณบุรีอยู่บริเวณภาคกลาง ส่งผลให้อุณหภูมิในพื้นที่เย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอุณหภูมิเริ่มหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒) ฤดูร้อน เริ่มประมาณ
กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมหลังจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลง หย่อม
ความกดอากาศต่ำจะพัดครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดส่งผลให้เกิดอากาศร้อนอบอ้าว โดยจะร้อนจัดใน
เดือนเมษายน และ ๓) ฤดูฝน เริ่มกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ร่องความกด
อากาศต่ำพัดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือ
ส่งผลให้เกิดฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงตุลาคม โดยฝนจะตกชุกในเดือนกันยายนและ
เป็นช่วงที่มีความชื้นสูงเช่นเดียวกับเดือนตุลาคม (สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี, ๒๕๖๕)
อุณหภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรีค่อนข้างสูงและมีอากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน ส่วนฤดู
หนาวอุณหภูมิจะไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ ๒๘.๔ องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดที่
เคยตรวจวัดได้อยู่ที่ ๗.๕ องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสูงสุดอยู่ที่ ๔๒.๖ องศาเซลเซียส ในปี
พ.ศ.๒๕๐๖
ลักษณะการทำการเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยพนที่
ื้
ชลประทานจะอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสามารถทำนาได้มากกว่า ๒ รอบต่อปี
ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานทำนาเพียงปีละ ๑ รอบ ส่งผลให้น้ำฝนเป็น
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการดำเนินเกษตรกรรมหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นที่ราบลุ่มที่
ประกอบด้วยแม่น้ำ ลำคลอง และมีหนอง บึงปะปนอยู่ทั่วไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่มีความ
แตกต่างกันไม่มาก โดยรวมประมาณ ๙๐๐ - ๑,๒๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งเป็นฝนที่ได้รับอิทธิพลจาก
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หากปีใดมีอิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน จะส่งผลให้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยเดือน
กันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ประมาณ ๒๑๘.๖ มิลลิเมตรโดยมีจำนวนวันฝนตกมาก
ที่สุด ๑๘ วัน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา, ๒๕๖๖)
๒.๑.๔ ดิน
ทรัพยากรดินของจังหวัดสุพรรณบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓๓ ชุดดิน โดยคิดเป็น
เนื้อที่ประมาณ ๒,๘๘๗,๑๔ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๒๒ ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นหน่วยดินเชิงซ้อน ๕
หน่วย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘,๙๙๐ ไร่ หรือร้อยละ ๐.๕๗ ของเนื้อที่ทั้งหมด และแบ่งเป็นพื้นที่