Page 25 -
P. 25
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16
หน้าที่ในการควบคุมโดรนในกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีโดรนเป็นของตนเอง 5
กลุ่ม
3) การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประธาน หรือตัวแทน
กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 57 กลุ่ม
5) การฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวแทนจากทั้ง 57 กลุ่ม กลุ่มละ 1 คน
ู
1.6.2 เครื่องมือ/วิธีการที่ใช้การเก็บข้อมล
เครื่องมือ/วิธีการเก็บข้อมูลมี 3 ประเภท ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนา
กลุ่ม แบบสอบถาม และการฝึกอบรม กล่าวคือ
1) สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ควบคุมโดรน จำนวน 1 ครั้ง/กลุ่ม
โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
(1.1) มีการให้บริการในการบินโดรนอย่างไร อาทิ ผู้ใช้บริการ ค่าตอบแทน
เงื่อนไขต่าง ๆ รูปแบบการให้บริการ
(1.2) เพราะเหตุใดจึงกลายมาเป็นผู้ควบคุมโดรน
(1.3) มีขั้นตอน และวิธีการในการควบคุมโดรนอย่างไร
(1.4) มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร แก้ไขอย่างไร ปัจจัยใดที่ทำให้การควบคุม
โดรนในแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ
(1.5) ข้อควรระวังในการควบคุมโดรน อาทิ การเลือกใช้ การควบคุม การ
บำรุงรักษาโดรน
(1.6) องค์ความรู้ที่ต้องการสำหรับการบินโดรน
(1.7) อื่น ๆ
2) การสนทนากลุ่ม จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
(2.1) กรรมการ และสมาชิกในกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่มีโดรนเป็นของตนเองจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 10 คน โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
(2.1.1) กลุ่มมีรูปแบบการให้บริการในการบินโดรนของกลุ่มเป็น
อย่างไร อาทิ ผู้ใช้บริการ ค่าตอบแทน เงื่อนไขต่าง ๆ รูปแบบการให้บริการ
(2.1.2) เพราะเหตุใดกลุ่มถึงตัดสินใจมีโดรนเพื่อการเกษตร
(2.1.3) กลุ่มมีขั้นตอน และวิธีการในการให้บริการโดรนอย่างไร
(2.1.4) กลุ่มมีปัญหาอุปสรรคในการให้บริการโดรนอย่างไร แก้ไข
อย่างไร ปัจจัยใดที่ทำให้การให้บริการแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ
ื่
(2.1.5) กลุ่มเห็นว่าข้อควรระวังในการใช้โดรนเพอการเกษตรควร
มีอะไรบ้าง
(2.2) ผู้ควบคุมโดรนในกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มี
ื่
โดรนเป็นของตนเองจำนวน 1 ครั้ง จำนวน 5 คน เป็นการสนทนากลุ่มย่อยเพอสรุปบทเรียนเพอเป็น
ื่
องค์ความรู้ โดยมีประเด็นคำถามดังนี้