Page 69 -
P. 69
ิ
ิ
ู
้
ุ
คลังความรดจทัลและฐานข้อมลจดหมายเหต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์
ู
แนวทางแก้ไข
1. ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ โดยเพิ่มช่องทาง และรูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลาย
น่าสนใจ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความครบถ้วนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย
เข้าใจวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ และเพิ่มระยะเวลาการประชาสัมพันธ์ให้
มากขึ้นเพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
2. กำหนดช่วงเวลาจัดโครงการที่เหมาะสม โดยอาจให้กลุ่มเป้าหมายเสนอช่วงเวลาจัดโครงการ
ที่เหมาะสมแทนการกำหนดโดยผู้จัดโครงการ
3. ปรับปรุงรูปแบบโครงการให้มีความน่าสนใจ โดยปรับปรุงกำหนดการ และสร้างกิจกรรมให้
ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วม และสนุกสนานไปกับโครงการตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ
4. เปิดโอกสารให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับรูปแบบของโครงการเพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และไม่ละเลยความ
ข้อเสนอแนะเล็ก ๆ น้อย ๆ ของบุคลากรเพื่อรวบรวมมาพิจารณาปรับปรุงในจุดบกพร่องของโครงการ
ผู้ตอบแบบประเมินมีจำนวนน้อย
สาเหตุ
1. การประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ การประชาสัมพันธ์ช่องทางการตอบแบบประเมินน้อย ทำให้ไม่ถึง
กลุ่มเป้าหมาย
2. ช่วงเวลาให้ตอบแบบประเมินไม่เหมาะสม ช่วงเวลาให้ทำแบบประเมิน คือ ช่วงจบโครงการซึ่ง
ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งไม่อยู่จนจบโครงการจึงเป็นสาเหตุให้พลาดการตอบแบบประเมิน ทั้งนี้ ผู้จัด
โครงการได้แก้ไขปัญหาด้วยการจัดส่งแบบประเมินผ่านช่องทางออนไลน์ตามไปในภายหลัง ซึ่งได้การตอบแบบ
ประเมินเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่งแต่ยังคงเป็นจำนวนน้อยเช่นเดิม
3. ขาดแรงจูงใจในการตอบแบบประเมิน ผู้เข้าร่วมโครงการอาจไม่เห็นถึงผลลัพธ์หรือผลประโยชน์ที่
ชัดเจนของการตอบแบบประเมิน
แนวทางแก้ไข
1. ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ โดยเพิ่มช่องทาง รูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลาย น่าสนใจ
เพื่อเข้าถึงผู้เข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มระยะเวลาการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้เข้าร่วม
โครงการร่วมกันตอบแบบประเมิน
2. ปรับช่วงเวลาการตอบแบบประเมิน โดยอาจเป็นการตอบแบบประเมินทันทีหลังจบการนำเสนอ
ในแต่ละกระบวนงาน และประเมินหลังจบโครงการ
3. สร้างแรงจูงใจในการตอบแบบประเมิน โดยปรับปรุงข้อคำถามให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการมีส่วน
ร่วมในแบบประเมิน เช่น การโหวตผลงานที่ประทับใจ
63