Page 35 -
P. 35
คลังความรดจทัลและฐานข้อมลจดหมายเหต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์
ิ
ุ
้
ิ
ู
ู
รางวัลดีเยี่ยม
กระบวนการที่มีการต่อยอด ประเภทตอบโจทย์ตรงใจ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
1. ปัญหา/สาเหตุ/ที่มาของการให้บริการ
การประเมินสุขภาพจิตตนเอง (Mental Health Check In) ของกรมสุขภาพจิต ในปี 2566 พบว่า
เยาวชนร้อยละ 18.0 มีความเครียดสูง เสี่ยงตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าร้อยละ 26.0 และเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายร้อย
ละ 12.5 และในส่วนของผลการประเมิน 3 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า เยาวชนร้อยละ 26.8 และ 18.3
กำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการเรียนรู้และ มีความเครียดสูงตามลำดับ (“ภาวะสังคมไทย,” 2567)
จากข้อมูลข้างต้นสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของนิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยต้องเผชิญ
กับความผันผวน การเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อการปรับตัวและความเครียดของนิสิตใน
หลายๆ ด้าน เช่น ด้านการใช้ชีวิต ด้านการเรียนด้านการปรับตัว และด้านสังคม เมื่อนิสิตประสบปัญหาทำให้
เกิดความเครียด หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจนกลายเป็นความเครียดสะสม ล้วนเป็นจุดวิกฤตที่นิสิตต้อง
เผชิญทำให้มีโอกาสเกิดความไม่สบายใจนำไปสู่การเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ การมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี
ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับตัวในการใช้ชีวิต การทำงาน
การกังวลการใช้ชีวิตในสังคม และการเรียน นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตและเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสุข
ภาวะได้ ด้วยงานส่งเสริมสุขภาวะและอาชีพ กองพัฒนานิสิตได้มีการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาวะด้านต่าง ๆ
บริการให้การปรึกษา และการให้คำแนะนำเบื้องต้น เพื่อให้นิสิตสามารถปรับตัว พัฒนาศักยภาพ และดำเนิน
ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้อย่างสมดุล และมีความสุข อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังมีเครือข่ายในระดับหน่วยงาน คณะ
ื่
และวิทยาเขต โดยมีเป้าหมายร่วมกันปฏิบัติหน้าที่เพอส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะด้านจิตใจ
แก่นิสิต รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่าย เพื่อช่วยเหลือนิสิตกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาวะ
ดังนั้น งานส่งเสริมสุขภาวะและอาชีพ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ กองพัฒนานิสิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีภารกิจมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะให้นิสิตมีแนวทางในการดำเนินชีวิต
อย่างสมดุล และมีความสุขโดย ในช่วงระหว่างปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา พบว่า มีนิสิตจำนวนมาก ให้ความ
สนใจ และสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ สำหรับพักผ่อน หย่อนใจ ภายใน มก. อย่างต่อเนื่อง ในการนี้ หน่วย
ส่งเสริมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ จึงได้จัดกิจกรรม KU Happy Guide ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำ
สถานที่ส่งเสริมสุขภาวะ เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้นิสิต มีแนวทางการผ่อนคลาย สร้างความสุข ควบคู่ไป
ั
กับ การสร้างสัมพนธภาพกับเพอนใหม่ ๆ ผ่านประสบการณ์ความสุขจากสถานที่จริง และเป็นการ บูรณาการ
ื่
29