Page 26 -
P. 26
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
1-2
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่การเกษตรไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ นอกการเกษตรนั้น
มีผลกระทบ 2 ประการคือ (1) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ(2) ผลกระทบต่อครัวเรือนเกษตรกรที่ท า
การเกษตรอยู่ในปัจจุบัน
กรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญที่จะยกมาเป็นกรณีตัวอย่าง คือ พื้นที่นาข้าวที่มีเนื้อที่เพียง
2.71 ล้านไร่ หรือร้อยละ 12.61 ของพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ าและจัดไว้เป็น “ระบบนิเวศนาข้าว”
ที่มีห่วงโซ่อาหารต่อแมลงหลายชนิด หากมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นจะมีผลต่อแมลงที่อาศัย
“ระบบนิเวศนาข้าว” เป็นแหล่งอาหารเมื่อแมลงขาดอาหารก็อาจจะไปท าลายพืชชนิดอื่นๆ
ผลกระทบอีกประการหนึ่งคือ ผลกระทบต่อครัวเรือนเกษตรที่มีจ านวน 302,225 ครัวเรือน
และประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ทั้งการผลิตพืชอาหาร พืชอุตสาหกรรม เลี้ยงสัตว์ และการประมง อาจจะถูก
เวนคืนที่ดินที่ใช้อยู่เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการ หรือมีผลกระทบจากโรงงานที่จะมาตั้งใกล้เคียง
ท าให้ครัวเรือนเกษตรกรบางส่วนต้องเลิกท าการเกษตร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิถีการด ารงชีวิตโดยสิ้นเชิง
เพื่อลดผลกระทบทั้งสองประการนี้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการร้องเรียนจากประชาชนให้ปรับปรุงผังการ
ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออกประกาศไปแล้วนั้น มีความ
จ าเป็นต้องสร้างเครื่องมือที่ยึดศักยภาพของดิน สิ่งแวดล้อมและทัศนคติของครัวเรือนเกษตรในพื้นที่เป็นหลัก
โดยการจ าแนกพื้นที่การเกษตรออกเป็น พื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ศักยภาพปานกลางและศักยภาพต่ า และน า
ข้อมูลนี้ส่งให้กับหน่วยงานที่มีอ านาจอนุญาตการก่อสร้างในพื้นที่ที่ก าหนดไว้เป็นพื้นที่ประเภทชุมชนชนบท
(ชบ.) และประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สก.) ให้รักษาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงและปานกลางไว้ให้มากที่สุด
ขั้นตอนต่อมาคือการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูงและปานกลาง โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐโดย
วิธีการต่างๆ เช่นการซื้อสิทธิในการพัฒนา (Purchase Development Right) หรือการสร้างภาระจ ายอม
(Easement) โดยความยินยอมของครัวเรือนเกษตร แล้วสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ที่คุ้มครองไว้เพื่อการเกษตร
เป็น Food Valley ในการผลิตวัตถุดิบส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น
จะท าให้ครัวเรือนเกษตรที่ประสงค์จะท าการเกษตรต่อไปไม่เปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ด ารงอยู่ แต่จะมีความมั่นคง
มากขึ้น อย่างไรก็ตามการด าเนินการแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมานี้มีขอบเขตที่กว้างขวาง มีรายละเอียดการ
ด าเนินงานจ านวนมาก มีความจ าเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อให้สามารถด าเนินการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่
เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหาร ในภาคตะวันออกได้
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อทบทวนที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาของรัฐในพื้นที่ภาคตะวันออกจากอดีตถึง
ปัจจุบัน
1.2.2 เพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ภาคตะวันออก
1.2.3 เพื่อทบทวนการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทย
1.2.4 เพื่อทบทวนการจัดตั้ง Food Valley ในประเทศไทย
1.2.5 เพื่อทบทวนประสบการณ์นานาชาติในการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรและการจัดตั้ง Food
Valley
1.2.6 เพื่อถอดบทเรียนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโครงการพัฒนาภาคตะวันออก
(Eastern Seaboard)
1.2.7 จัดท าแนวทางการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม
อาหาร