Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                             ิ
                                                                 ิ
                               ื
                                               ์
                                            ิ
                                  ิ
                                                                                                       1-1

                                                         บทที่ 1

                                                          บทน า


               1.1 ที่มาและความส าคัญ/ หลักการและเหตุผล
                       ภาคตะวันออกของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด คือ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี
               ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีเนื้อที่ 21.48 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 13.32 ล้านไร่

               หรือร้อยละ 61.84 สืบเนื่องจากการด าเนินโครงการพัฒนาภาคตะวันออก (Eastern seaboard) ที่เริ่มต้น
               ในปี 2524 ที่ถึงแม้จะก าหนดพื้นที่โครงการไว้เพียง 2 พื้นที่ คือ (1) มาบตาพุด และ (2) แหลมฉบัง แต่นิคม
               และโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งโครงการบ้านจัดสรรได้ขยายตัวเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมจ านวนมาก
               ท าให้พื้นที่เกษตรกรรมในภาคตะวันออกลดลงจากปี พ.ศ.2543/2544 ที่มีจ านวน 14.19 ล้านไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน,

               2545: 3) เหลือเพียง 13.32 ในปี พ.ศ.2560/2561 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2562: 5) หรือลดลง 865,448 ไร่
               และมีผลกระทบต่อภาคการเกษตรโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ าเพื่อการเกษตร เป็นเพราะมิได้มีแผนคุ้มครอง
               พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมควบคู่ไปกับแผนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
                       การสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรมในภาคตะวันออกได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากมีการ

               ประกาศใช้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561
               โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
               ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี

               และระยอง เนื้อที่ 8.29 ล้านไร่ และพื้นที่อื่นที่จะมีพระราชกฤษฎีกาประกาศในภายหลัง และต่อมา
               คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้ประกาศเรื่องแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและ
               แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2562
               ก าหนดพื้นที่ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 จากการประกาศแผนผังการใช้
               ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวนี้ มีการก าหนดพื้นที่อุตสาหกรรมทับซ้อนกับพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร และใช้อยู่

               ในปัจจุบันส่วนหนึ่ง จึงได้มีการร้องเรียนจากประชาชนให้มีการปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเสียใหม่
               แต่ยังไม่มีข้อยุติจนถึงปัจจุบัน
                       นอกจากนี้ในผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 นั้นมีที่ดิน 2 ประเภท

               คือ พื้นที่ประเภทชุมชนชนบท (ชบ.) และ(2) พื้นที่ประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สก.) ก็ได้มีข้อยกเว้นให้ใช้
               ประโยชน์ในการก่อสร้างโรงงาน และที่อยู่อาศัยอีกด้วย ในกรณีโรงงานถึงแม้ว่าจะเป็นโรงงานที่ใช้วัตถุดิบจาก
               ผลิตผลการเกษตรก็ตามมิได้ก าหนดสัดส่วนเอาไว้ว่าจะให้ใช้จ านวนมากน้อยเพียงใดที่ต่างกับกรณีที่อยู่อาศัยที่
               ก าหนดไว้ว่าเป็น บ้านเดี่ยว  บ้านแฝด ทาวเฮาส์ คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของพื้นที่

               โครงการที่ประกาศคือ 424,512 ไร่  จากพื้นที่โครงการทั้งหมด 8.29 ล้านไร่ การสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมต่อ
               การเกษตรก็จะสูญเสียไปอีกส่วนหนึ่งจากกรณีนี้
                       สืบเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
               ที่ให้อ านาจคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถก าหนดพื้นที่อื่นที่จะมีพระราช

               กฤษฎีกาประกาศในภายหลังเป็นเขตพัฒนาพิเศษได้ ซึ่งอาจจะมีการก าหนดเขตอุตสาหกรรมทับซ้อนพื้นที่
               เหมาะสมต่อการเกษตรเกิดขึ้นอีกในอนาคตในจังหวัดอื่นของภาคตะวันออก
                       จากข้อมูลดังกล่าวนี้จึงสรุปได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรในภาคตะวันออกมีแนวโน้มที่จะลดลง
               อีกจ านวนหนึ่งจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน 13.32 ล้านไร่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30