Page 110 -
P. 110
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2.3) สถานภาพที่ดินสวนไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม ้
จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการตรวจประเมินการรับรองการจัดการป่าไม้ของ
สวนไม้เศรษฐกิจทุกชนิดในประเทศไทยที่มีการขอการรับรองในช่วงปี พ.ศ. 2554-2563 จากเว็บไซต์ของ FSC
ณ วันที่ 23 มกราคม 2564 (FSC, 2021a) พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการรับรองการจัดการป่าไม้ตาม
มาตรฐาน FSC จำนวน 22 รายการ มีชนิดพนธุ์ไม้ที่ทำการขอการรับรองการจัดการป่าไม้จำนวน 4 ชนิด
ั
ได้แก่ ยางพารา สัก ยูคาลิปตัส และกระถิน โดยพบว่า ยางพาราเป็นชนิดพันธุ์ที่มีจำนวนใบรับรองการจัดการ
ี่
ป่าไม้มากทสุด จำนวน 12 ราย รองลงมา คือ ยูคาลิปตัส จำนวน 5 ราย, ไม้ผสมสามชนิด (ยางพารา สัก และ
ยูคาลิปตัส) จำนวน 2 ราย, สัก จำนวน 1 ราย, ไม้ผสมสองชนิด (ยางพาราและกระถิน) จำนวน 1 ราย และไม้
ผสมสองชนิด (ยางพาราและสัก) จำนวน 1 ราย
ื้
สำหรับพื้นที่ขอการรับรองการจัดการป่าไม้ครอบคลุมพนที่ทั้งหมด 591,134.11 ไร่ โดยพบว่า สักเป็น
ชนิดพันธุ์ที่มีพนที่ขอการรับรองการจัดการป่าไม้มากที่สุด จำนวน 225,947.63 ไร่ รองลงมา ได้แก่ ยางพารา
ื้
จำนวน 97,342.53 ไร่, ไม้ผสมสามชนิด (ยางพารา สัก และยูคาลิปตัส) จำนวน 78,591.50 ไร่, ยูคาลิปตัส
จำนวน 65,172.77 ไร่, ไม้ผสมสองชนิด (ยางพาราและสัก) 62,175.75 ไร่ และไม้ผสมสองชนิด (ยางพาราและ
กระถิน) จำนวน 61,903.94 ไร่ (FSC, 2021a)
สำหรับการรับรองป่าไม้ตามแบบ PEFC พบว่า ได้ออกใบรับรองให้กับผู้ประกอบการป่าไม้ในไทย
จำนวน 40 ราย ซึ่งเป็นการรับรอง CoC ทั้งหมด (PEFC, 2021) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามาตรฐาน มอก.
14061 ซึ่งเป็นระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศจะมีแนวทางในการพัฒนามาตรฐานตามแนวทางของ FSC
แต่เนื่องจาก FSC ไม่มีนโยบายให้การรับรองระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศ จึงไม่สามารถดำเนินการใช้
มาตรฐาน มอก. 14061 แทนการรับรองป่าไม้ของ FSC ซึ่งแตกต่างจากระบบของ PEFC ที่สามารถให้การ
รับรองระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศและสามารถใช้แทนระบบการรับรองป่าไม้ของ PEFC
ู
3) การรวบรวมและวิเคราะหข้อมลข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไข (Corrective Action Requests (CARs))
์
่
่
ของการตรวจรับรองการจัดการป่าไม้ในประเทศไทยย้อนหลังไมน้อยกวา 5 ปี ที่เกี่ยวกับปัญหา
สถานภาพทางกฎหมายของทดินในประเทศไทยในการรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม
้
ี่
จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไข (Corrective Action Requests
(CARs)) ของการตรวจรับรองการจัดการป่าไม้ในประเทศไทยย้อนหลังที่เกี่ยวกับปัญหาสถานภาพทาง
กฎหมายของที่ดินในประเทศไทยในการรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้จากรายงานการตรวจประเมินการ
รับรองการจัดการป่าไม้ของสวนไม้เศรษฐกิจทุกชนิดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2554-2563 ทั้งหมด 33
97