Page 104 -
P. 104
ื
ิ
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ื่
(4) ที่ดินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอนๆ เช่น ที่ดินทางหลวง ที่มีกรมทางหลวงเป็น
หน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ที่ดินบริเวณแม่น้ำ ที่มีกรมเจ้าท่าเป็น
หน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2546 ที่ดินป่าชุมชน ตาม
พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เป็นต้น
้
2.2.3) การวเคราะห์ปัญหาสถานภาพที่ดินตามกฎหมายที่มีการปลูกไมเศรษฐกิจ
ิ
ในการขอการรับรองการจัดการป่าไมของ FSC
้
โดยเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์ทั้งจากงานวิจัยที่ผ่านมาและการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่
เป็น Key person หรือ ผู้นำกลุ่มหรือเกษตรกรเกี่ยวกับสวนไม้เศรษฐกิจจำนวน 3 กลุ่ม 16 คน ได้แก่ 1)
ุ
ผู้แทนสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน จำกัด จำนวน 2 คน 2) ผู้แทนองค์การอตสาหกรรมป่าไม้ (ที่ได้รับอนุญาตให้
ทำสวนป่าในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ) จำนวน 2 คน และ 3) ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับสวนไม้เศรษฐกิจในที่ดิน
กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง และที่ดินทั้งที่ที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี
ให้ใช้ประโยชน์ จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้ประสานงานเครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำมวบ อ.สันติสุข จ.น่าน จำนวน 1 คน,
ั
กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านนาปรังพฒนา ต.คลองกวาง อ.นาทวี จ.สงขลา จำนวน 10 คน และนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ จำนวน 1 คน ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์สถานภาพทางกฎหมายของที่ดินที่
เกี่ยวกับการรับรองป่าไม้ สรุปได้ดังนี้
(1) งานวิจัยของ ขวัญชัย และคณะ (2564) ที่ได้ศึกษาสถานภาพทางกฎหมายของ
ที่ดินชุมชนไม้มีค่าจำนวน 10 ชุมชน ที่มีที่ตั้งกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ชุมชนไม้มี
ค่าบ้านดอนศาลเจ้า จ.สุพรรณบุรี และชุมชนไม้มีค่าบ้านสามัคคีธรรม จ.กาญจนบุรี เป็นตัวแทนของชุมชนไม้มีค่า
ภาคกลางและภาคตะวันตก 2) ชุมชนไม้มีค่าบ้านบนนา จ. เชียงใหม่ และชุมชนไม้มีค่าบ้านพญาแก้ว จ.น่าน
เป็นตัวแทนชุมชนไม้มีค่าภาคเหนือ 3) ชุมชนไม้มีค่าบ้านท่าลี่ และชุมชนไม้มีค่าบ้านแดง จ.ขอนแก่น เป็น
่
ตัวแทนชุมชนไม้มีค่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) ชุมชนไม้มีคาบ้านหลุมมะขาม จ.ฉะเชิงเทรา และชุมชนไม้มี
ค่าบ้านเนินดินแดง จ.ตราด เป็นตัวแทนชุมชนไม้มีค่าภาคตะวันออก และ 5) ชุมชนไม้มีค่าบ้านประสานมิตร
จ.ชุมพร และชุมชนไม้มีค่าบ้านปลายคลองวัน จ.ระนอง เป็นตัวแทนชุมชนไม้มีค่าภาคใต้ พบว่า สถานภาพ
ทางกฎหมายของที่ดินที่ชุมชนใช้ประโยชน์สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ที่ดินรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ และที่ดินที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินจากรัฐ โดยที่ดิน
ส่วนใหญ่ของแต่ละชุมชนเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมาย มีเพยงชุมชนบ้านหลุมมะขาม
ี
จ.ฉะเชิงเทรา และชุมชนบ้านเนินดินแดง จ.ตราด ที่เป็นที่ดินรัฐในรูปแบบ ส.ป.ก. ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐให้ใช้
ประโยชน์เกือบทั้งชุมชน ในขณะที่ชุมชนบ้านบนนา จ.เชียงใหม่ ชุมชนบ้านประสานมิตร จ.ชุมพร และบ้าน
สามัคคีธรรม จ.กาญจนบุรี มีที่ดินส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นที่ดินป่าไม้ที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในการใช้
91