Page 45 -
P. 45
ิ
์
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
3. เพื่อให้บุคคลกรของกรมประมงได้รับการพัฒนาเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารแหล่งน้ำชุมชน
เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืด และด้านการทำงานร่วมกับชุมชนนำไปสู่การพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างมี
ประสิทธิภาพ
แนวทางการดำเนินงาน
1. จัดหาแหล่งน้ำชุมชนแบบระบบปิดที่เหมาะสม จัดตั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาโดย
ส่งเสริมและ สนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ โดยมีคณะกรรมการธนาคารฯ ประจำ
แหล่งน้ำ มีการจัดระบบการจัดการบริหารผลผลิตแบบธนาคาร เช่น มีการลงหุ้น แลกเปลี่ยน ยืม คืน แบ่ง
ผลประโยชน์ ผลผลิตหรือรายได้ที่เกิดขึ้นโดยให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลผลิตสัตว์น้ำที่
เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
2. พัฒนาความรู้ให้กับราษฎรในชุมชนเป้าหมายให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบริหาร
จัดการผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนเป้าหมาย ตลอดจนให้ความรู้แก่ชุมชนในการบริหารจัดการผลผลิต
การเกษตรด้านการประมงที่เกิดในชุมชน ผ่านระบบธนาคารผลผลิตเกษตรด้านการประมง เพื่อลดรายจ่ายในการ
นำผลผลิตเกษตรไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นผู้บริโภคในชุมชนหรือนอกชุมชน เน้นการบริหารจัดการที่เรียบง่าย
ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบได้และยุติธรรมโดยชุมชนมีการบริหารจัดการภายใต้การช่วยเหลือของหน่วยงานของ
รัฐในทุกมิติ สามารถเข้าใจระบบที่ออกแบบโดยชุมชนร่วมกัน สามารถแก้ไขระเบียบปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกับ
วัฒนธรรมในชุมชน
3. การบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืด เช่น การปล่อยพันธุ์
ปลา สร้างอาหารธรรมชาติ การเพาะพันธุ์ปลา ฯลฯ โดยมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตหรือสร้างสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เช่น พันธุ์สัตว์น้ำจืด อาหารสัตว์น้ำและมีการประเมินผลผลิตสัตว์น้ำและมูลค่า
สัตว์น้ำ ตลอดจนการจับสัตว์น้ำใช้ประโยชน์ของชุมชน โดยมีระยะเวลาดำเนินการโครงการ 5 ปี ดังนี้
- ปีที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อมขององค์ประกอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
โครงการ การจัดตั้ง กลไกความร่วมมือทั้งระดับกรมประมงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และระดับท้องถิ่น เช่น การ
แต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการระดับกรม คณะกรรมการธนาคารประจำแหล่งน้ำ แผนการปฏิบัติงาน
ประจำ แหล่งน้ำ กฎระเบียบธนาคารฯ ให้สามารถดำเนินงานโครงการฯ ตามแผนการการปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ หลังจากนั้นมีการปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำ การบริหารจัดการแหล่งน้ำในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ
การใช้พื้นที่ริมฝั่งแหล่งน้ำชุมชนให้บริการพื้นที่เพาะปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย และลดการใช้สารเคมีในการทำา
การเกษตร ทั้งนี้ อาจจะมีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับธนาคารผลผลิตเกษตรในอัตราที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมใน
ชุมชน เป็นต้น
- ปีที่ 2 สนับสนุนปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ
สนับสนุนให้กับชุมชนผ่านระบบธนาคารผลผลิตเกษตรด้านการประมง โดยธนาคารมีส่วนร่วมในการหาปัจจัย
ประเมินจากการบริหารจัดการ หากไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการสามารถนำเข้าที่ประชุมของชุมชนให้
พิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเน้นการประชุมและรายงานผลการดำเนินการให้ชุมชนทราบอย่างต่อเนื่อง
27