Page 40 -
P. 40

ิ
                                                                                ิ
                                               ์
                                 ิ
                              ื
                                           ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ประมาณ 5 ตัน ซึ่งในส่วนนี้หากเกษตรกรนำไปปลูกเพื่อไถกลบแล้วต้องกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ใน

               การเก็บเมล็ดพันธุ์ต้นทุนคืน พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกัน โดยมีสัญญาการใช้คืนไม่เกิน 6 เดือน
               ทั้งนี้ ในการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์นี้ กลุ่มเกษตรกรอาจจะดำเนินการได้ทั้ง 3 ธนาคาร ขึ้นอยู่กับความพร้อม
               ความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูก แต่จะต้องจัดตั้งธนาคารน้ำหมักชีวภาพ เป็นหลัก ส่วนธนาคารปุ๋ย

               หมักและธนาคารปุ๋ยพืชสดอาจเลือกจัดตั้งอย่างใดอย่างหนึ่ง
                              3.  สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มและจำนวนธนาคารที่จะจัดตั้ง

               ในกรณีที่ไม่มีโรงเรือนในการปฏิบัติงาน กรมฯ อาจจะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโรงเรือนตาม
               ความ เหมาะสม

                              4.  กลุ่มวิชาการและกลุ่มวิเคราะห์ดิน ต้องเข้ามาร่วมในการดำเนินงานในการถ่ายทอด
               เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน การใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยการใช้โปรแกรมการใช้ปุ๋ย

               ตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งกลุ่มวิเคราะห์ดินต้องทำการวิเคราะห์ดินในพื้นที่ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคาร เพื่อให้
               การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                              5.  กลุ่มเกษตรกรต้องดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อบริหารจัดการขั้นตอน

               ต่างๆ ตั้งแต่ ผลิตจนถึงจัดทำบัญชี รับฝาก ถอน กู้ยืม พร้อมกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการฝากและกู้ยืม
                              6.  กำหนดระเบียบการดำเนินงานในการฝาก ถอน กู้ยืม พร้อมอัตราดอกเบี้ย 6

                              7.  กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการ พร้อมกำหนดเงื่อนไขและบทลงโทษกรณี
               ทำผิดเงื่อนไข
                              8.  กลุ่มเกษตรกรต้องมีเงื่อนไขในการประกอบการดำเนินงาน โดยต้องสามารถดำเนินการ

               ต่อเนื่องได้ ไม่น้อยกว่า 2 ปี


                              ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน (กรมการข้าว)
                              วัตถุประสงค์

                              1.  เพื่อให้ชุมชนมีแหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสำหรับเพาะปลูกอย่างเพียงพอและทั่วถึง
                              2.  เพื่อเป็นแหล่งสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้ในชุมชนยามขาดแคลนหรือเกิดภัยพิบัติ

                              3.  เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาข้าวของชุมชน
                              แนวทางการดำเนินงาน
                              1.  การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน/ชาวนา เพื่อก่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน

                                 1.1 การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์วิจัยข้าวที่รับผิดชอบ
               พื้นที่ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ ดำเนินการคัดเลือกชุมชนที่ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและชุมชน

               ที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งต้องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้เองในชุมชน มีความพร้อมที่จะ
               ดำเนินงานในรูปแบบธนาคารเมล็ดพันธุ์ ข้าวชุมชน อาจยกระดับเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ระดับอำเภอ

               ต่อไป
                                                                                                  ี้
                                 1.2 คุณสมบัติของชาวนาที่ขอรับบริการจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน มีดังน
                                                             22
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45