Page 129 -
P. 129
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ถูกทำลาย การตัดสินใจที่จะใช้มาตรการดังกล่าวจะต้องมีความรอบครอบในการคำนวณวันที่แน่นอน ซึ่ง
แต่ละชนิดสัตว์น้ำจะมีความแตกต่างกันในช่วงการวางไข่ และการอาศัยในพื้นที่ที่แตกต่างกันด้วย
รวมทั้งแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและนิเวศวิทยาที่ทำให้สภาพ
ของน้ำมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม การปิดพื้นที่ และการปิดทำการประมงในบางฤดูการสำหรับอ่างเก็บน้ำนั้น
อาจจะไม่มีความจำเป็น เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของประเทศอินเดีย เนื่องจากมี
ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำค่อนข้างมาก และเป็นสัตว์น้ำที่มีช่วงชีวิตสั้น สามารถเกิดใหม่ได้ใน
เวลาไม่ยาวนาน เช่น ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มที่ในเวลา 1 ปี และสามารถออกไข่ได้ทุก 3-4 เดือนเป็นต้น
การเก็บภาษีในการทำประมง (Taxes)
การเก็บภาษีในการทำประมงเปรียบเสมือนการเพิ่มต้นทุนในการทำประมง ซึ่งจะทำให้การลงแรง
ประมงลดลง การเก็บภาษีในการทำประมงสามารถทำได้ 2 ด้าน คือ เก็บภาษีจากการลงแรงประมง
และการเก็บภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจับสัตว์น้ำ โดยพิจารณาด้านผลผลิตเป็นการลงแรงประมง
และผลผลิตสัตว์น้ำ โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีที่พิจารณาด้านผลผลิตเป็นการลงแรงประมง (Effort) โดยราคาสัตว์น้ำไม่คงที่
การเก็บภาษีที่พิจารณาด้านผลผลิตเป็นการลงแรงประมงในกรณีนี้จะยกตัวอย่างของ การเก็บภาษีของพิ
กูเวียน (Pigouvain taxes) ซึ่งสามารถกำหนดได้สองด้าน คือ ด้านต้นทุน และด้านรายได้
โดยพิจารณา จากฟังก์ชั่น 1) H(E) = ฟังก์ชั่นการจับสัตว์น้ำ (Harvest Function)
2) TR(E) = ฟังก์ชั่นของรายได้ทั้งหมด (Total Revenue Function)
3) TC(E) = ฟังก์ชั่นของต้นทุนทั้งหมด (Tatal Cost Function)
ภายใต้เงื่อนไข
ชาวประมงรู้ข่าวสารอย่างเสรี
Effort tax :t ภาษีต่อหน่วยการลงแรงประมง
E
Harvest tax : t ภาษีต่อหน่วยการจับ
H
1) กรณีที่ 1 การเก็บภาษีต่อหน่วยการลงแรงประมง ณ ราคาสัตว์น้ำคงที่
สมมติให้ เดิม TC(E) = aE ไม่มีการเก็บ tax
หน้า | 121