Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 6. 2 การกำหนดโควตาการทำประมงภายใต้เงื่อนไขราคาสัตว์น้ำเปลี่ยนแปลง
ที่มา: ดัดแปลงจาก Lee G. Anderson (1977)
จากภาพที่ 6. 2 เริ่มแรกมีการลงแรงประมงที่ระดับ E จับสัตว์น้ำได้ปริมาณ Y มีรายได้เท่ากับ
OA
OA
ต้นทุน ซึ่งเป็นระดับการทำประมงเสรี เมื่อมีการกำหนดให้จับสัตว์น้ำที่ระดับ Y หรือ ลงแรงประมงที่
MSY
E จะทำให้การทำประมงลดลง และต้นทุนลดลงมาอยู่ที่ C โดยที่ได้ราคาที่ P เกิดกำไรในส่วน
MSY
MSY
MSY
พื้นที่แรเงา ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณการจับสัตว์น้ำลดลงตามจำนวนโควตาที่กำหนด และชาวประมงได้
กำไรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการกำหนดโควตาจะทำให้เกิดปัญหาได้ หากเป็นการกำหนดโควตาใน
ภาพรวมของพื้นที่ที่กำหนด เพราะจะทำให้เรือแต่ละลำพยายามจับสัตว์น้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่ปริมาณ
สัตว์น้ำยังไม่ถึงโควตาที่กำหนด หรือการลงแรงประมงยังไม่ครบตามโควตาทั้งหมด ดังนั้นจึงมีรูปแบบ
โควตาโดยกำหนดในแต่ละบุคคล หรือแต่ละการลงแรงประมงเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อที่จะระบุชัดเจนว่าแต่ละ
ลำเรือควรจะทำการประมงเท่าไหร่ จึงมีรูปแบบการกำหนดโควตาแบบอื่นๆ เช่น การกำหนดโควตาการ
ลงแรงประมงแต่ละบุคคล (Individual effort quotas :IEQs) ได้แก่ การกำหนดจากเวลาในการกู้อวน
เวลาที่ออกจากท่าเรือ หรือจำนวนวันที่ใช้ทำประมง อย่างไรก็ตามการกำหนดนี้เป็นการกำหนดถึง
จำนวนการลงแรงประมง ซึ่งชาวประมงแต่ละคนสามารถที่จะเพิ่มแรงของเครื่องยนต์ได้ หรือเพิ่มปัจจัย
หน้า | 119