Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




            bioassay กำรหำปริมำณโดยชีววิธี : วิธีการหาความเข้มข้น ความบริสุทธิ์และ/หรือผลเชิงชีวภาพของ
                  สาร (เช่น วิตามิน ฮอร์โมน สารควบคุมการเจริญเติบโต สารปฏิชีวนะ เอนไซม์) โดยวัดผลที่เกิดกับ
                  จุลินทรีย์ เนื้อเยื่อ เซลล์ เอนไซม์ เปรียบเทียบกับต�ารับควบคุมซึ่งไม่ใส่สารนั้น
            bioavailable เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต : สารอาหารซึ่งสิ่งมีชีวิตดูดไปใช้ประโยชน์ได้

            biochar ถ่ำนชีวภำพ; ไบโอชำร์ : วัสดุที่มีคาร์บอนสูง ผลิตโดยน�ามวลชีวภาพ มาผ่านการแยกสลายด้วย
                  ความร้อน (pyrolysis) ซึ่งใช้อุณหภูมิสูง (เฉลี่ย 500 องศาเซลเซียส) ในสภาพที่ปลอดออกซิเจน

                  เป็นวัสดุปรับปรุงดิน (soil amendment) ช่วยให้ดินมีสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดีขึ้น เนื่องจาก
                  เป็นสารที่สลายตัวช้ามาก จึงกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินได้นาน
            biodegradable  ย่อยสลำยได้ด้วยสิ่งมีชีวิต  :  สภาพของสารที่สามารถย่อยสลายได้โดยกิจกรรมของ
                  จุลินทรีย์  อันเป็นกระบวนการทางชีวเคมี  เช่น  เซลลูโลสย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์เซลลูเลส  จาก

                  จุลินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตปุ๋ยหมัก ช่วยลดช่วงเวลาการหมักให้สั้นลง
            biodynamic  farming  กำรท�ำฟำร์มแบบไบโอไดนำมิก  :  การบ�ารุงพืชที่ปลูกด้วยสารจากธรรมชาติ
                  เช่น  ฉีดพ่นด้วยสารละลายซึ่งเตรียมจากการหมักมูลสัตว์  ตลอดจนสารสกัดจากพืชบางชนิด  เพื่อ

                  กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
            biofertilizer ปุ๋ยชีวภำพ : ปุ๋ยที่ได้จากการน�าจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้
                  ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์ต่อพืช แบ่งเป็น 4 พวก คือ (1) พวกตรึงไนโตรเจน เช่น ไรโซเบียม

                  และ อะโซโตแบคเตอร์ (2) พวกละลายฟอสเฟต/เคลื่อนย้ายฟอสเฟต พวกละลายฟอสเฟต เช่น
                  แบซิลลัส  และซูโดโมแนส  ส่วนพวกละลาย/เคลื่อนย้ายฟอสเฟต  ได้แก่  ไมคอร์ไรซา  (3)  พวก
                  ละลายแร่โพแทช และ (4) ไรโซแบคทีเรียเร่งการเจริญเติบโตของพืช (plant growth promoting

                  rhizobacteria, PGPR) เช่น ซูโดโมแนส (Pseudomonas)
            biofertilizer  application  กำรใช้ปุ๋ยชีวภำพ  :  การน�าปุ๋ยชีวภาพเข้าสู่ระบบดิน/พืช  เพื่อการเพิ่ม
                  ผลผลิตพืช วิธีการใช้มีหลายอย่าง เช่น ใส่ในดินโดยตรง คลุกเมล็ด คลุกหัว (เช่น มันฝรั่ง) จุ่มให้
                  ติดรากต้นกล้า  และชุบท่อนพันธุ์  (เช่น  อ้อย)  ส�าหรับปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิดมีดังนี้

                  ข้าวใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน�้าเงิน  ถั่วใช้ไรโซเบียม  ส่วนอ้อยใช้  Azotobacter,  Azospirillum  และ
                  จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต
            biofertilizer  quality  คุณภำพปุ๋ยชีวภำพ  :  สภาพเชิงคุณค่าของปุ๋ยเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ก�าหนด

                  ซึ่งพิจารณาจากหลักเกณฑ์  3  ประการ  คือ  (1)  ประสิทธิภาพของสายพันธุ์  (strain)  จุลินทรีย์
                  ที่มีในปุ๋ย  (2)  เกรดของแคร์ริเออร์  (carrier)  และสารยึดติด  (adhesive)  ที่ใช้ผสม  และ  (3)
                  ประชากรขั้นต�่า (minimum population) ของจุลินทรีย์หลักในปุ๋ยชีวภาพ

            biogenic opal ไบโอเจนิก โอพอล : ซิลิคอนไดออกไซด์อสัณฐาณ (SiO ) ในผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิว
                                                                    2
                  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดพอลิซิลิซิก (polysilicic acid) ช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรง



               74       40 ปี
                        สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79