Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                  การศึกษาพฤติกรรมการใชเมล็ดพันธุขาวและการประมาณการความตองการเมล็ดพันธุขาวสําหรับศูนยขาวชุมชน

                             4) จํานวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือนที่อยูในบานเดียวกัน

                                สําหรับจํานวนสมาชิกทั้งหมดที่อาศัยอยูในบานดียวกันในป 2562 พบวา ในภาพรวมมีทั้งสิ้น
                  3,071 คน เปนเพศชายรอยละ 49.2 และเพศหญิงรอยละ 50.8 เฉลี่ยไดเทากับ 3.74 คน/ครัวเรือน ซึ่งเมื่อ

                  เทียบกับจํานวนสมาชิกเฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่ใกลเคียงกัน คือ พื้นที่รับประโยชนของโครงการเขื่อนแคว

                  นอย จังหวัดพิษณุโลก ที่มีจํานวนสมาชิกเฉลี่ยตอครัวเรือนในป 2556 และ 2558 เทากับ 4.00 และ 3.99 คน/
                  ครัวเรือน ตามลําดับ (มาฆะสิริ เชาวกุล , 2557 และ 2559) พบวาเปนขนาดของครัวเรือนที่เล็กลง ซึ่งจะมีผล

                  ตอการทํานาในอนาคตได  โดยเปนสมาชิกที่ทํานาเต็มเวลารอยละ 47.4 ของสมาชิกทั้งหมด หรือเฉลี่ยได
                  เทากับ 1.77 คน/ครัวเรือน  และทํานาเปนบางเวลาเพียงรอยละ 13.1 ของสมาชิกครัวเรือนทั้งหมด (ตารางที่

                  3.4)

                                นอกจากนี้ยังพบวา เปนสมาชิกที่กําลังศึกษาอยูรอยละ 22.4 ซึ่งสะทอนถึงภาวะพึ่งพิงของ
                  ครัวเรือน (ตารางที่ 3.4)


                  3.2  ประสบการณการทํานาของเกษตรกรทํานารอบศูนยขาวชุมชน

                         3.2.1 จํานวนปเฉลี่ยของการทํานาของเกษตรกรหลักของครัวเรือนตัวอยาง

                               สําหรับประสบการณในการทํานาของเกษตรกรหลักที่ทํานา พบวา จํานวนปเฉลี่ยของการทํานา
                  ของเกษตรกรกลุมตัวอยางอยูในชวง 22.8 – 30.1 ป หรือ เฉลี่ยรวมไดเทากับ 27.0 ป/คน (ตารางที่ 3.4) โดย

                  จํานวนปต่ําสุดและสูงสุดของการทํานาอยูระหวาง 5 – 55 ป ซึ่งสะทอนวายังพอมีเกษตรกรรุนใหมเขามาทํานา

                  อยูบาง


                      3.2.2  จํานวนครั้งของการทํานาตอปของครัวเรือนตัวอยาง ในเวลาปกติ
                              ในปที่ไมมีปญหาเรื่องน้ํา พบวา จํานวนครั้งของการทํานาตอปของครัวเรือนตัวอยางที่ทํานาอยู

                  รอบๆศูนยขาวชุมชน แบงเปน 4 ลักษณะคือ ปลูกขาวปละ 1 ครั้ง , 2 ครั้ง , 3 ครั้ง และปลูกขาว 3 ครั้งขามป

                  ซึ่งเทากับปลูกขาว 5 ครั้งใน 2 ป ซึ่งมีครัวเรือนตัวอยางที่ปลูกขาวลักษณะขางตนจํานวนรอยละ 8.2 , 75.2
                  12.3 และ 16.7 ของครัวเรือนตัวอยางทั้งหมด ตามลําดับ (ตารางที่ 3.5) สําหรับพื้นที่ที่มีการปลูกขาวครั้งเดียว

                  นั้น พบวาเปนพื้นที่ที่เปนที่ดอน ทํานาไดปละครั้งเทานั้น จึงเลือกปลูกขาวหอมมะลิ 105 เปนหลักในฤดูฝน ซึ่ง
                  พบในพื้นที่ของตําบลบึงปลาทู อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค ซึ่งเปนพื้นที่อยูรอบศูนยขาวชุมชนบาน

                  หวยโรง พื้นที่ตําบลบานใหมชัยมงคล อําเภอทุงเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเปนพื้นที่อยูรอบศูนยขาวชุมชนบาน

                  ใหมโพธิ์ทะเล และพื้นที่ตําบลดงประคํา อําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเปนพื้นที่ที่อยูรอบศูนยขาว
                  ชุมชนบานทุงน้ําใส  สวนพื้นที่นอกเหนือจากนี้ จะทํานาอยางนอย 2 – 3 ครั้งตอป หรือ 2 ครั้งครึ่งแลวขามไป

                  เก็บเกี่ยวปตอไป ซึ่งเทากับทํานา 5 ครั้งตอ 2 ป พื้นที่เหลานี้มีทั้งพื้นที่ชลประทาน และพื้นที่ที่มีน้ําบาดาล

                  เพียงพอ






                                                             - 29 -
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54