Page 41 -
P. 41

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                      ขนุน

                      เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ที่สามารถขึ้นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน
               ออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ภาคอีสานจะเรียก บักมี่ ภาคเหนือเรียก มะหนุน ภาคใต้เรียก หนุน ขนาดต้นสูงได้ถึง
               15 เมตร คนไทยนิยมปลูกขนุนไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่า ขนุน เป็นไม้มงคล เมื่อปลูกแล้วจะช่วยเหลือเกื้อหนุนให้

               เจริญรุ่งเรือง ตลอดล าต้นถ้าเอามีดฟันหรือเพียงสะกิด กรีดเป็นแผล จะมียางขาวออกมา ออกดอกออกผลตลอดปี
                      ลักษณะใบเป็นทรงกลมปลายรีแหลมเห็นเส้นใบค่อนข้างชัด ความพิเศษของใบขนุนคือ เป็นเงาวาว

               ด้วยตัวของมันเอง ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ไล่ขึ้นไปจนเป็นเขียวเข้มเมื่อใบแก่ขึ้น ขนาดใบประมาณฝ่ามือ ส่วนของ
               ต้นขนุนที่สามารถน ามาย้อมสีได้คือ ใบ เปลือก และแก่น แต่วิธีการสกัดสีจะต่างกัน ถ้าเป็นใบจะสามารถน ามาต้มสกัด

               น้ าสีได้เลย แต่ถ้าเป็นเปลือกต้องบากแล้วน ามาสับก่อนน าไปต้มสกัดสี เช่นเดียวกันกับแก่นต้น เป็นการน าต้นขนุน
               ทั้งต้นมาผ่าและไสหรือสับผ่าเอาแก่นกลางต้นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือตากแห้งทิ้งไว้ก่อนน ามาใช้งาน ง่ายต่อการสกัดน้ าสี

               ให้ได้ออกมา
                                                                          ขั้นตอนการสกัดสีจากใบขนุน ดังนี้
                                                                         1. น าใบขนุนมาสับหรือตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ

                                                                         2. ก่อนน าไปต้มเพื่อสกัดน้ าสี สามารถเก็บ
                                                                     ใบขนุนสดมาท าการต้มย้อมได้เลยโดยไม่ต้องท า

                                                                     การแช่ทิ้งไว้ก็ได้ โดยใช้ใบที่มีสีเขียวแก่ประมาณ
                                                                     5 กิโลกรัม (ถ้าเป็นแก่นจะใช้ประมาณ           3

                                                                     กิโลกรัม) ย้อมเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้าย
                                                                     น้ าหนักรวมกัน 1 กิโลกรัม ใช้เวลาต้มสกัดน้ าสี

                                                                     ประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หรือใบ
                                                                     เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลเขียว

                                                                         3. เทกรองเอาแต่น้ าสีที่ได้
                                                                         4. น าเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้ายลงย้อมทิ้ง

                                                                     ไว้ 1 ชั่วโมง คอยหมั่นกลับพลิกเส้นใยทุก      15
                                                                     นาที
                                                                         5. เมื่อครบเวลา น าเส้นใยขึ้นบิดหมาด ได้สี

                                                                     บนเส้นไหมเป็นสีเขียวก่อนน าไปแช่สารช่วยติดสี
                                                                     ทั้ง 5 ชนิด ได้เป็นเฉดสีที่แตกต่างกัน ในโทน

                                                                     เขียว-เหลือง อมน้ าตาล


                      ส่วนของต้นขนุนที่นิยมน ามาใช้ย้อมสี    คือ แก่น (แก่นหมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ที่แข็ง
               ที่สุด อยู่ภายในสุดของต้น) น ามาผ่า สับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่น้ าทิ้งไว้ 1 คืนก่อนที่จะน ามาต้มสกัดน้ าสี โดยใช้แก่น

               3 กิโลกรัม (ถ้าเป็นแก่นตากแห้งอาจใช้มากกว่า) ต่อเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้ายร่วมกัน 1 กิโลกรัม กรองใช้เฉพาะน้ า
               น ามาต้มย้อม 45-60 นาที จะได้สีเหลือง และเมื่อน าไปแช่สารช่วยติดสีทั้ง 5 ชนิด สารส้ม จะเป็นตัวที่ให้สีเหลืองที่สด
               เข้มขึ้น (สีเหลืองอมน้ าตาล) นิยมใช้แก่นขนุนย้อมผ้าเพื่อท าเป็นจีวรพระ เรียกว่า ผ้าย้อมกรัก    32
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46