Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
BACKGROUND
ด้วยบทบาทของสถานศึกษาที่เน้นองค์ความรู้ KASET FAIR
ด้านการเกษตร มีจุดยืนคือ การเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน
สินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรพื้นฐานระหว่าง
พี่น้องเกษตรกรกับผู้เข้าชมงาน การน�าเสนอผลงาน
วิชาการ งานวิจัย และนิทรรศการนวัตกรรมที่น่าสนใจ
ไปจนถึงการจัดประกวดสินค้าด้านการเกษตร การประกวด
สุนัขและปลาสวยงามจึงถือก�าเนิดขึ้นภายใต้ชื่องาน
วันเกษตรแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2491
มาวันนี้ชื่อเสียงของเกษตรแฟร์เริ่มขยายวงกว้างขึ้น
เรื่อย ๆ “ใครไม่แฟร์…เกษตรแฟร์!” กลายเป็นประโยค
ติดหูจากเทศกาลประจ�าทุกปีอันโด่งดังที่สุดของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากการขายสินค้าด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว
ก็เริ่มมีอาหาร งานหัตถกรรม เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้
ต่าง ๆ เข้ามาเป็นอีกสีสัน ให้งานมีความน่าสนุกและ
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับสีสันจากร้านค้านิสิตจาก
คณะต่าง ๆ อีกจ�านวนนับร้อยร้าน
เกษตรแฟร์ที่บางเขนปัจจุบันจัดขึ้น 3 ครั้งต่อปี
ได้แก่ งานเกษตรแฟร์ประจ�าปี งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)
เกษตรแฟร์ และงานเกษตรแฟร์เพื่อมูลนิธิจุฬาภรณ์
ซึ่งมีขนาดงานแตกต่างกัน โดยมีรูปแบบการจัดแบ่งเป็น
โซนต่าง ๆ กระจายอยู่ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย
ตามความเหมาะสม เช่น โซนขององค์กรหรือมูลนิธิ
ส่วนพระองค์ สินค้า OTOP ตลาดน�้าโบราณ ผลไม้
ตามฤดูกาล โซนร้านค้ากิจกรรมของนิสิตคณะต่าง ๆ
ที่มีความคล้ายคลึงกันแต่แตกต่างในรายละเอียดของ
ร้านค้าและผู้เข้าร่วมในแต่ละพื้นที่
งานเกษตรแฟร์ในแต่ละปีถือว่ามีการเติบโตขึ้น
ในทุกครั้ง ทั้งในแง่ของรายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย การ
พัฒนางานและเนื้อหางาน การมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน
ภายนอกและภายใน จ�านวนคนมาเที่ยวชมงาน และ
การได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนต่าง ๆ นอกจากนี้
ในวิทยาเขตอื่นๆ ทั้งก�าแพงแสน ศรีราชา และวิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ก็มีงานเกษตรแฟร์
ประจ�าปีเช่นกัน โดยมีรายละเอียดเนื้อหางานที่แตกต่าง
กันออกไปตามบริบทแวดล้อมและองค์ความรู้ของตนเอง
KREATIVE UNIVERSITY 35