Page 264 -
P. 264

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558)   253


                        ผู้เขียนได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์หลงจงที่ขงเบ้งแนะน าแก่เล่าปี่ ซึ่งเป็นสาเหตุ
                                                                           4
                 ส าคัญที่สุดประการหนึ่งที่ท าให้แผ่นดินจีนแบ่งแยกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจน  ทว่า
                 ยุทธศาสตร์หลงจงนี้ ผู้เขียนกล่าวว่า ไม่ใช่ขงเบ้งที่คิดขึ้นเป็นคนแรก แต่มีคนเคยคิด
                 ขึ้นมาก่อนแล้วคือ โลซก เสนาบดีของง่อก๊กผู้ที่เป็นทั้งเพื่อน (ในยามสู้กับโจโฉ) และ
                                                5
                 ศัตรู (ในยามจะยึดเก็งจิ๋ว) ตามสถานการณ์ โดยโลซกได้เสนอความเห็น “ยุทธศาสตร์
                 สามขาค ้ากังตั๋ง” ว่า

                              โจโฉอยู่ในฐานะผู้ควบคุมพระมหากษัตริย์อันได้เปรียบ
                        ราชวงศ์ฮั่นไม่มีวันกลับฟื้นคืนสภาพเดิม อ านาจของโจโฉนั้นยัง
                                              ั
                        ไม่สามารถล้มล้างได้ ความฝนที่จะรวมแผ่นดินของซุนกวนก็ยัง
                        ไม่อาจเป็นจริง ทางเลือกที่ดีที่สุดคือยึดครองกังตั๋ง รอจังหวะ
                        เหมาะฉวยโอกาสที่โจโฉรุกลงใต้ไม่หยุดรีบตีชิงเก็งจิ๋วของเล่า
                        เปียว หลังจากนั้นจึงค่อยตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แล้วค่อยๆ รวบรวม
                        แผ่นดินไปทีละชิ้น (หลี่ฉวนจวิน และคณะ, 2556: 119-121)

                        แผนการที่โลซกเสนอแก่ซุนกวนนี้เรียกว่า “แผนการบนตั่ง” ซึ่งผู้เขียนกล่าว
                 ว่า โลซกเสนอก่อนยุทธศาสตร์หลงจงของขงเบ้งถึง 7 ปี แต่ผู้เขียนก็ได้แสดงทัศนะ
                 ไว้ว่า ทั้งโลซกและขงเบ้งนั้นต่างเข้าใจสถานการณ์ในขณะนั้นเป็นอย่างดี อีกทั้งผู้เขียน
                                                                  ั
                 เห็นว่า แผนการบนตั่งและยุทธศาสตร์หลงจงนั้นแสดงให้เห็นถึงสติปญญาและวิสัยทัศน์

                        4
                           เมื่อเล่าปี่ได้ขงเบ้งมาอยู่ด้วยจึงด าเนินการตามยุทธศาสตร์หลงจงที่ขงเบ้ง
                 แนะน านี้ สุดท้ายเล่าปี่ก็ยึดครองเก็งจิ๋วได้ส าเร็จ ต่อมาขงเบ้งให้กวนอูปกครองเก็งจิ๋ว ส่วน
                 เล่าปี่และขงเบ้งเดินทัพไปยึดฮันต๋งและเสฉวน เล่าปี่จึงตั้งตนเป็นเจ้าแห่งเสฉวนได้ส าเร็จ
                 จึงเกิดสถานการณ์สามก๊กขึ้น.
                        5                           ั่
                           โลซกเป็นผู้สนับสนุนคนส าคัญของฝงง่อก๊กที่ประสงค์ให้เกิดพันธมิตรตระกูล
                 ซุนและเล่าเพื่อรับมือกับการรุกรานของโจโฉ จึงเกิดเหตุการณ์ส าคัญในสามก๊ก คือ ศึกเซ็กเพ็ก
                 (ศึกผาแดง) โลซกเป็นบุคคลส าคัญที่มีอิทธิพลในการเกลี้ยกล่อมให้ซุนกวนและจิวยี่ร่วมมือ
                 กับเล่าปี่รบกับโจโฉ เมื่อเสร็จศึกเซ็กเพ็กแล้ว โลกซกเป็นบุคคลส าคัญอีกเช่นกันที่ซุนกวน
                 และจิวยี่ใช้ให้ไปทวงเมืองเก็งจิ๋วอีกหลายครั้งหลายครา สุดท้ายลกซุนเสนอแผนให้ลิบอง
                 ปลอมตัวเป็นพ่อค้ายึดเมืองเก็งจิ๋วได้ส าเร็จในที่สุด ในนิยายสามก๊ก โลซกถือเป็นตัวละครที่
                 ซื่อสัตย์มากที่สุดคนหนึ่ง จนมีค ากล่าวไว้ว่า “มีเพื่อนต้องเป็นเพื่อนแบบโลซก”.
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269