Page 261 -
P. 261
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
250 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)
ผู้ใดก็ให้ม้ำเต๊กเลำนี้กับเขำคนนั้นเพรำะม้ำเต๊กเลำนี้เป็นม้ำที่ให้โทษแก่เจ้ำของท ำให้
เล่ำปี่โกรธมำกและหำว่ำชีซีเป็นคนไร้คุณธรรม” (เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2,
2554: 689)
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ทั้งเก๊งอวด อีเจี้ยและชีซีต่างเป็นผู้มีความรู้
ในวิชาอาชาลักษณ์ (วิชาดูม้า) ซึ่งเป็นศาสตร์ชั้นสูงหนึ่งของจีน ผู้เขียนกล่าวว่า เหตุการณ์
การดูลักษณะม้าเต๊กเลานี้ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนและแสดงทัศนะไว้ว่า น่าจะเป็น
ั่
1
เพียงจินตนาการเชิงนิยายในลักษณะที่เข้าข้างฝงเล่าปี่ นอกจากนี้เซวียนปิ่งซ่าน ยังได้
๋
อธิบายความรู้เกี่ยวกับวิชาการดูม้านี้ว่า อยู่ในคัมภีร์ดูอาชาลักษณ์ของปอเล่อว่า “ม้ำ
ั
หน้ำผำกขำวไปถึงปำกจรดฟนนี้มีชื่อว่ำอี๋ว์เอี๋ยน อีกชื่อว่ำเต๊กเลำ บ่ำวขี่จะตำยใน
ต่ำงถิ่น นำยขี่ต้องพลัดพรำกจำกที่อยู่ เป็นม้ำร้ำยแล” (หลี่ฉวนจวิน และคณะ, 2556: 65)
นอกจากนี้วิชาการดูม้านั้น เซวียนปิ่งซ่านยังได้สอดแทรกความรู้ต่อเนื่อง
เกี่ยวกับวิชาการดูลักษณะม้าดีหรือไม่ดีว่า สมัยโบราณนั้นมีวิชาอาชาลักษณ์ คือ
วิชาการเลือกม้าซึ่งปรากฏในยุคจั้นกั๋ว ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาจากหนังสือจั้นกั๋วเช่อ
(พงศาวดารยุคจั้นกั๋ว) เล่ม 21 ว่า
มีแขกมาพบอ๋องแคว้นเจ้าแล้วถามว่า “ข้าพเจ้าได้ข่าวว่า
ท่านอ๋องส่งคนไปซื้อม้า ได้คนแล้วหรือ?”
อ๋องตอบว่า “ได้แล้ว”
“แล้วไยจนบัดนี้ยังไม่ส่งออกไป?”
อ๋องตอบว่า “ยังไม่ได้คนเชี่ยวชาญวิชาดูลักษณะม้า”
(หลี่ฉวนจวินและคณะ, 2556: 66)
กรณีที่เล่าปี่ตอบอีเจี้ยว่า “ข้อซึ่งดีแลร้ำยนั้นก็ตำมแต่บุญแลกรรมเรำมิได้ถือ”
สามารถตีความได้ 2 ด้าน คือ 1. เล่าปี่รู้วิชาอาชาลักษณ์และเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามการกระท าของตนเอง หรือ 2. เล่าปี่ไม่รู้วิชาอาชาลักษณ์
ในประเด็นนี้ อาจตั้งข้อสังเกตว่า หากมองในแง่นิยายสามก๊ก ม้าเต๊กเลานี้น่าจะถูกโฉลก
กับเล่าปี่มากกว่าเพราะม้าเต๊กเลานี้เคยช่วยเล่าปี่หนีภัยจากการปองร้ายของชัวมอ
แม่ทัพของเล่าเปียว จนไปพบกับปราชญ์สุมาเต๊กโช และในตอนที่ยกทัพบุกเสฉวน
1 หนึ่งในผู้เขียน.