Page 159 -
P. 159

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          148      Humanities Journal Vol.21, No.2 (July-December 2014)

                 สิงคาลกสูตรแหงทีฆนิกายกลาวถึงหนาที่ที่พอแมควรอนุเคราะหลูก
         ตามหลักทิศเบื้องหนา 5 ประการคือ

                  1. หามจากความชั่ว 2. ใหตั้งอยูในความดี 3. ใหศึกษา
                  ศิลปวิทยา 4. หาภรรยาที่สมควรให และ 5. มอบทรัพยใหใน
                  สมัย” (พระไตรปฎกภาษาไทย เลมที่ 11 ขอ 199)


                 หนาที่ทั้งหมดนี้ หากพิจารณาดูแลวจะเห็นวาตางเกิดจากคุณสมบัติ
          ของการเปนพรหม บูรพาจารย และอาหุไนยบุคคล ของพอแมดังกลาวแลว
          ขางตนทั้งสิ้น

          ทําอยางไรจึงไดชื่อวาเปนการแทนคุณพอแม (กตเวทิตา)

                 บางคนอาจจะเขาใจวา การมีลูกคือผลพลอยไดทางชีววิทยาที่เกิดจาก
          การมีเพศสัมพันธตอกันของชายและหญิงเทานั้น แตหากพิจารณาจากพระพุทธพจน
          ตอไปนี้จะเห็นวา ความเขาใจดังกลาวยังแคบไป เพราะความตองการมีลูกของพอ
          แมเกิดจากการเล็งเห็นความจําเปนใน 2 กรณี คือ (1) ชีวิตในปจจุบันซึ่งเปน

         เหตุผลเชิงสังคมวิทยาและ (2) ชีวิตหลังความตายซึ่งเปนเหตุผลทางศาสนา ดัง
          พระพุทธพจนในอังคุตตรนิกายวา

                  ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ 5 ประการนี้จึง
                  ปรารถนาบุตรเกิดในสกุล ฐานะ 5 ประการนี้เปนไฉน คือ
                  บุตรที่เราเลี้ยงแลวจักเลี้ยงตอบแทน จักทํากิจของเรา วงศ
                  สกุลของเราจักดํารงอยูไดนาน บุตรจักปกครองทรัพยมรดก

                  เมื่อเราตายไปแลวบุตรจักบําเพ็ญทักษิณาทานให ภิกษุ
                  ทั้งหลาย มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ 5 ประการนี้แลวจึง
                  ปรารถนาบุตรเกิดในสกุล (พระไตรปฎกภาษาไทย เลมที่ 22
                  ขอ 39)
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164