Page 15 -
P. 15
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4
ส้าหรับลูกอ๊อดอึ่งกรายในสกุล Xenophrys sp. นั้นไม่พบตัวเต็มวัยและไม่สามารถเลี้ยงจนเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
เป็นตัวเต็มวัยได้ จึงไม่สามารถระบุชนิดได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นลูกอ๊อดของอึ่งกรายในสกุล Xenophrys ยังมี
ลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกใกล้เคียงกันมาก ท้าให้การจ้าแนกชนิดจากสัณฐานวิทยาภายนอกจากลูกอ๊อดนั้น
กระท้าได้ยาก ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงไม่สามารถจ้าแนกชนิดได้ จึงระบุไว้เพียงระดับสกุลเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบชนิดสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบในการศึกษาครั้งนี้กับการศึกษาของ Humparnonta
(1983) ที่ได้ศึกษาไว้ที่อ้าเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าเขียดลื่น (Occidozyga laevis) ในการศึกษาของ
Humparnonta (1983) นั้น ในปัจจุบันพบว่าเขียดลื่นในประเทศไทยแพร่กระจายอยู่เฉพาะทางภาคใต้ตอนกลางลงไป
เท่านั้น โดยมีรายงานที่จังหวัดพังงา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสุราษฎร์ธานี เท่านั้น โดยไม่พบแพร่กระจายมาถึง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Chan-ard, 2003; Taksintum, 2003; Chuaynkern & Chuaynkern (2012a) ดังนั้นจึงมี
สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบเหมือนกันจ้านวน 13 ชนิด และมีชนิดที่พบในการศึกษาครั้งนี้ แต่ไม่พบในการศึกษาของ
Humparnonta (1983) จ้านวน 9 ชนิด คือ กบลายหินตะนาวศรี (Amolops panhai) เขียดเขาหลังตอง
(Chalcorana eschatia) ปาดจิ๋วข้างขาว (Feihyla hasanae) กบท่าสาร (Alcalus tasanae) คางคกแคระ
(Ingerophrynus parvus) อึ่งกรายลายเลอะ (Leptobrachium smithi) กบป่าไผ่ (Limnonectes hascheanus)
อึ่งลายเลอะ (Microhyla butleri) และลูกอ๊อดอึ่งกรายในสกุล Xenophrys และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของ
Taksintum et al. (2010) ได้ศึกษาที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบก
ที่พบเหมือนกันชนิดจ้านวน 20 ชนิด โดยมีชนิดที่พบเพิ่มเติมจากการศึกษาของ Taksintum et al. (2010) จ้านวน 2
ชนิด คือ กบท่าสาร และปาดจิ๋วข้างขาว
ส้าหรับปาดจิ๋วข้างขาวในปัจจุบันยังคงมีความสับสนทางอนุกรมวิธานกับปาดจิ๋วพม่า เนื่องจากมีสัณฐานวิทยา
ภายนอกที่คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดตัวที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ปาดจิ๋วพม่าจะมีขนาดความยาวจากปากถึงรูก้นโดยเฉลี่ย
มากกว่าปาดจิ๋วข้างขาว (Aowphol et al., 2013) และจากลักษณะของปาดในสกุล Feihyla ที่พบในการศึกษาครั้งนี้
พบว่ามีความยาวจากปลายปากถึงรูก้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 20.90 มม. (ค่าเฉลี่ยจากทั้ง 2 เพศ) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา
ของ Aowphol et al. (2013) ที่ระบุว่าปาดจิ๋วข้างขาวมีความยาวจากปลายปากถึงรูก้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 21.3±0.7
มม. ในเพศผู้ และเท่ากับ 22.3±1.3 มม. ในเพศเมีย โดยมีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งเพศผู้และเมียของปาดจิ๋วพม่า
นอกจากนี้จากการตรวจสอบเอกสารพบว่าตัวอย่างต้นแบบของปาดจิ๋วข้างขาวถูกรวบรวมได้จากต้าบลหนองค้อ
อ้าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้้าทะเลจากในอดีตที่เคยมีแผ่นดินเชื่อมต่อ
ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคใต้ของประเทศไทย (Sathiamurthy & Voris, 2006) ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวจึงระบุ
ให้ปาดในสกุล Feihyla ที่พบในการศึกษาครั้งนี้เป็นปาดจิ๋วข้างขาว
ส่วนกบท่าสารจากการตรวจสอบเอกสารการแพร่กระจายพบว่า Taksintum (2003) ได้รายงานไว้ที่จังหวัดสุ
ราษฎร์ธานี และ Chuaynkern & Chuaynkern (2012a) ได้รายงานการแพร่กระจายของกบท่าสารไว้ที่จังหวัดชุมพร
พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี ในขณะที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีนั้นตั้งอยู่ในละติจูดที่สูงกว่าอ้าเภอบางสะพาน
ซึ่งล้วนเป็นละติจูดที่ต่้ากว่าอ้าเภอบางสะพานลงไป จึงมีความเป็นไปได้ว่าเป็นสาเหตุที่ไม่พบกบท่าสารในการศึกษา
ของ Taksintum et al. (2010)
สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีชนิดที่เป็นรายงานการแพร่กระจายใหม่ของจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์จ้านวน 2 ชนิด คือ ปาดจิ๋วข้างขาว ซึ่งเดิมมีรายงานการแพร่กระจายอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี
เชียงใหม่ นครราชสีมา เลย และหนองคาย และกบท่าสาร ซึ่ง Chuaynkern & Chuaynkern (2012a) ได้รวบรวม
การแพร่กระจายจากเอกสารต่างๆ และพบว่า มีรายงานการแพร่กระจายอยู่ที่จังหวัดชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุ
ราษฎร์ธานี
ในส่วนของสัตว์เลื้อยคลานเมื่อเปรียบเทียบชนิดสัตว์เลื้อยคลานที่พบในการศึกษาครั้งนี้กับการศึกษาของ
Pauwels et al. (2003) และ Pauwels et al. (2009) ที่ศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีสัตว์เลื้อยคลานที่พบเหมือนกันจ้านวน 25 ชนิด โดยมีชนิดที่พบในการศึกษาครั้งนี้แต่ไม่พบใน
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 25 พ.ศ. 2561 Journal of Wildlife in Thailand Vol. 25, 2018