Page 96 -
P. 96

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ตามที่ราบชายฝั่งทะเล ที่น�้าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบ มีความลาดชัน
          0-2 เปอร์เซ็นต์ ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านปานกลางถึงช้า มีการไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้าและบางแห่ง

          น�้าจะท่วมสูงจากผิวดิน 10-20 ซม. เป็นระยะเวลา 2-3 เดือน และท่วมเป็นบางครั้งบางคราว
                        ดินบนลึกประมาณ 15-20 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายเป็นส่วนใหญ่
          แต่อาจจะมีดินเหนียวอยู่บ้าง  สีพื้นเป็นสีน�้าตาลหรือสีน�้าตาลเข้ม  สีเข้มของน�้าตาลปนเทาจนถึงสีน�้าตาล

          ปนเทามีจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง  สีน�้าตาลเข้ม  หรือสีน�้าตาลแก่  ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงเป็น
          กรดรุนแรงมาก (pH 4.5-8.0) ส่วนดินล่างลึกตั้งแต่ 20 ซม. ลงไป มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย

          เป็นส่วนใหญ่  แต่จะมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน  ดินร่วนปนทราย  หรือดินเหนียวอยู่บ้างในดินชั้น
          ล่างสุดของดิน สีพื้นของดินเป็นสีตั้งแต่สีเข้มของน�้าตาลปนเทา สีน�้าตาลปนเทา สีอ่อนของน�้าตาลปนเทา
          สีเทาอ่อน สีเทาปนชมพูจนถึงสีเทา มีจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง สีเหลืองปนน�้าตาล สีน�้าตาลแก่ สีแดงปน

          เหลือง  จนถึงสีแดงปะปนอยู่ทั่วไป  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงด่างจัด  (pH  5.5-8.5)  แต่ส่วนใหญ่จะเป็น
          ด่างปานกลางถึงด่างจัด (pH8.0 - 8.5) ในส่วนล่างสุดของดิน
                  3.2.6 clayey Fluvaquentic Endoaquepts

                      ดินพวกนี้มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีอินทรียคาร์บอนที่ความลึก  1.25 เมตร ตั้งแต่ร้อยละ
          2 ขึ้นไป ได้แก่
                      1) ชุดดินบางมูลนาก (Bang Mun Nak : Ban) จัดอยู่ใน very-fine, mixed, semiactive,

          nonacid, isohyperthermic Aeric Endoaquepts เกิดจากตะกอนน�้าพาบริเวณที่ราบน�้าท่วม สภาพพื้นที่
          ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-1 % การระบายน�้าค่อนข้างเลว การไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า

          การซึมผ่านได้ของน�้าช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว อาจใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด
          ถั่ว หรือพืชผักก่อนหรือหลังปลูกข้าว การแพร่กระจายพบมากในพื้นที่ภาคเหนือบริเวณล�าน�้าน่าน การจัดเรียง
          ชั้นดิน Apg-Bwg

                        เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน�้าตาลเข้ม สีน�้าตาล
          ปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีน�้าตาล

          ปนแดง  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง  (pH  5.5-7.0)  ดินล่างตอนล่างเป็นสีน�้าตาลปนเทา  สีเทา
          ปนแดง  หรือสีน�้าตาลปนเทาอ่อน  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด  มากถึงเป็นกรดจัด  (pH  4.5-5.5)  มีจุดประ
          สีน�้าตาลแก่ สีแดงปนเหลือง หรือสีแดงตลอดชั้นดิน

                      2) ชุดดินสมุทรปราการ  (Smut  Prakan  :  Sm)  จัดอยู่ใน  fine,  mixed,  nonacid,
          isohyperthermic  Fluvaquentic  Endoaquepts  ก�าเนิดจากตะกอนทะเลผสมกับตะกอนล�าน�้าในพื้นที่
          ราบลุ่มน�้าขึ้นถึง สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % การระบายน�้าเลว

          การไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า  สภาพซึมผ่านได้ของน�้าช้า  พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
          ส่วนใหญ่ใช้ท�านา  แต่บริเวณที่มีความเค็มจัดมักปล่อยทิ้งร้าง  หรือมีเฉพาะพืชทนเค็ม  การแพร่กระจาย
          ชายฝั่งทะเลในบริเวณที่น�้าทะเลเคยท่วมถึง  การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Cg



          92    การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว                           ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101