Page 91 -
P. 91
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สีน�้าตาล จนถึงสีน�้าตาลเข้ม มีจุดประสีน�้าตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด (pH 5.5-6.0)
ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว จนถึงดินเหนียว มีสีเหลืองปนน�้าตาล มีจุดประสีน�้าตาลแก่
ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH 6.5-7.0)
ดิน loamy Haplustalfs มีเนื้อดินในช่วงควบคุม (Control section) มีปริมาณอนุภาคขนาด
ดินเหนียวร้อยละ 18-35 ได้แก่ชุดดินอุบล (Ubon : Ub)
ชุดดินอุบล (Ubon : Ub) จัดอยู่ใน loamy, siliceous, semiactive, isohyperthermic
Aquic Arenic Haplustalfs เกิดจากการทับถมกันของตะกอนล�าน�้าเก่า (old alluvium) บนส่วนสูง
ของลานตะพักล�าน�้าระดับต�่า (higher part of low terrace) สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบ ถึงมี
ความลาดเทเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-2 เปอร์เซ็นต์ ดินชุดนี้เป็นดินลึก มีการระบายน�้าค่อนข้างมาก
คาดว่าดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านได้เร็ว มีการไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า ตามปรกติแล้วน�้าใต้ดินลึก
กว่า 4 เมตร ในระหว่างฤดูแล้ง
ดินบนลึกไม่เกิน 20 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินทราย หรือดินทรายร่วน สีพื้นเป็นสีเทาเข้ม ถึงสีเทา
เข้มมาก มีจุดประสีน�้าตาลปนเหลืองเข้ม ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5)
ส่วนดินล่างเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหนากว่า 30 ซม. สีพื้นเป็นสีน�้าตาลอ่อน หรือสีน�้าตาลปนแดงอ่อน
และความเหนียวเพิ่มขึ้นเป็นดินเหนียวปนทรายในระดับความลึก 80 ซม. จากผิวดิน สีพื้นเป็นสีเทาอ่อน
หรือสีเทา มีจุดประสีน�้าตาลแก่ หรือเหลืองปนแดง หรือน�้าตาลปนเหลืองเกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตลอด ปฏิกิริยา
ของดินกรดปานกลางถึงกรดจัด (pH 5.5-6.0)
2. เอนทิซอลส์ (Entisols)
ลักษณะที่ส�าคัญของดินอันดับนี้เป็นดินแร่ ส่วนมากมีชั้นดินบนวินิจฉัยออคริก ไม่พบชั้นดิน
ล่างวินิจฉัย การพัฒนาของดินในหน้าตัดยังสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจน ระยะเวลาในการสร้างดินยังน้อยมาก
บางแห่งประกอบด้วยแร่ควอตซ์ หรือแร่ที่สลายตัวยาก การพัฒนาชั้นดินจึงไม่เกิดขึ้น ดินนาที่จัดอยู่ใน
อันดับนี้มี 1 กลุ่มใหญ่ คือ Hydraquents
กลุ่มดินใหญ่ Hydraquents พบในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคกลาง
มีค่าเอ็น (n-value) มากกว่า 0.7 ในระดับความลึก 20-50 เซนติเมตรจากผิวดิน นอกจากนี้ยังพบสาร
จาโรไซต์ และมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3.6-4.0 ภายใน 50 ซม. และพบวัสดุซัลไฟด์ (Sulfidic materials)
อยู่ระหว่าง 50–100 ซม. จึงจัดอยู่ในกลุ่มดินย่อย Sulfic Hydraquents สามารถแบ่งโดยใช้ชั้นขนาด
อนุภาคดินได้ 1 พวก คือ clayey Sulfic Hydraquents
clayey Sulfic Hydraquents เนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่
ชุดดินชะอ�า (Cha-Am : Ca)
ชุดดินชะอ�า (Cha-Am : Ca) จัดอยู่ใน very fine, mixed, semiactive, isohyperthermic
Sulfaquepts เกิดจากตะกอนที่ถูกพัดพามาทับถมโดยน�้ากร่อย สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบถึง
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว 87