Page 101 -
P. 101
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จุแลกเปลี่ยนแคตไอออนน้อยกว่า 16 เซนติโมลต่อกิโลกรัม และปริมาณอนุภาคดินเหนียวลดลงไม่เกิน
ร้อยละ 20 จากชั้นที่มีดินเหนียวมากที่สุดภายใน 150 ซม. สามารถแบ่งโดยใช้อนุภาคดินได้ดังนี้
5.2.1 loamy Kandiaquults
ดินพวกนี้มีเนื้อดินเป็นดินร่วน หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ปริมาณอนุภาคดินเหนียว
ไม่เกินร้อยละ 35 ได้แก่
1) ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi Et : Re) จัดอยู่ใน fine-loamy, mixed, subactive,
isohyperthermic Aeric Kandiaquults เกิดจากการทับถมของตะกอนล�าน�้าเก่า บนลานตะพักล�าน�้า
ระดับต�่า สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้เป็นดินลึก
มีการระบายน�้าค่อนข้างเลว คาดว่าดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านปานกลางถึงช้า มีการไหลบ่าของน�้า
บนผิวดินช้า
ดินบนลึกไม่เกิน 20 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีพื้นเป็นสีน�้าตาล มีจุดประสีเข้ม
ของน�้าตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก (pH 5.0-5.5) ดินบนตอนล่างลึกประมาณ
20-40 ซม. เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีพื้นเป็นสีน�้าตาลอ่อน จุดประเป็นสีเหลืองปนน�้าตาล
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก (pH 5.0-5.5) ส่วนดินตอนล่างเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
สีพื้นเป็นสีเทาจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก (pH4.5-5.0)
2) ชุดดินโคกเคียน (Khok Khain : Ko) จัดอยู่ใน fine-loamy, kaolinitic, isohyperthermic
Typic Kandiaquults เกิดจากตะกอนล�าน�้าเก่าที่พัดพามาทับถมบนลานตะพักล�าน�้าระดับต�่า หรือระหว่าง
หุบเขา สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบ มีความลาดชัน 1-2 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้เป็นดินลึกมาก มีการ
ระบายน�้าเลว คาดว่าดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านได้ช้า มีการไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า ตามปรกติแล้ว
ระดับน�้าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1 เมตร เป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนในฤดูแล้ง และจะมีน�้าขังบนผิวดิน
เป็นระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนในฤดูฝน
ดินบนลึกไม่เกิน 15 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีพื้นเป็นสีน�้าตาลปนเทา หรือ
สีอ่อนของสีเทาปนน�้าตาล มีจุดประสีน�้าตาล หรือสีเหลืองตามบริเวณรากพืช ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
กรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5) ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหยาบหรือหยาบ สีพื้นเป็น
สีเทาอ่อนหรือสีเทามีจุดประสีน�้าตาล สีเหลืองหรือสีน�้าตาลปนเหลืองเป็นปริมาณมาก และเห็นอย่างเด่น
ชัด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5)
5.3 Paleaquults
ลักษณะส�าคัญของกลุ่มดินใหญ่นี้ คือ ส่วนใหญ่ชั้นดินบนวินิจฉัยเป็นพวกออคริก และมีชั้นดินล่าง
วินิจฉัยอาร์จิลลิก ดินมีสีเทา หรือเทาปนน�้าตาล มีจุดประสีแดงหรือน�้าตาลปนเหลืองปริมาณดินเหนียว
ลดลงไม่เกินร้อยละ 20 จากค่าสูงสุดภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน แบ่งโดยใช้ชั้นอนุภาค
ได้ 3 พวก
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว 97