Page 105 -
P. 105

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    5.3.4 loamy - skeletal Paleaquults
                        ดินพวกนี้เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนกรวด  มีปริมาณกรวดขนาดใหญ่กว่า  2  มิลลิเมตร

            ปนอยู่ในเนื้อดินเป็นจ�านวนมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตรในช่วงควบคุม ได้แก่ ชุดดินเพ็ญ (Phen : Pn)
                      ชุดดินเพ็ญ  (Phen  :  Pn)  จัดอยู่ใน  loamy-skeletal,  mixed,  subactive,
            isohyperthermic Aeric Plinthic Paleuquults เกิดจากตะกอนที่น�้าพัดพามาทับถมกันเป็นเวลานานแล้ว

            สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-2 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้
            เป็นดินตื้น  มีการระบายน�้าค่อนข้างเลวถึงเลว  ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านปานกลางถึงเลว  มีการ

            ไหลบ่าของน�้าบนผิวดินปานกลาง
                        ดินบนลึกไม่เกิน 30 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีพื้นเป็นสีน�้าตาลอ่อน มีจุดประ
            สีแดงปนเหลือง  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด  (pH  5.5-6.0)  ส่วนดินล่างในระดับความลึก

            ตั้งแต่ 30 ซม.ลงไป จากผิวหน้าดิน จะมีชั้นของหินลูกรังเกาะตัวกันหลวมๆ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนกรวด
            หรือดินร่วนเหนียวปนกรวด สีเหลืองปนแดง มีจุดประสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดปานกลาง
            ถึงกรดจัด (pH 5.5-6.0) ในบางแห่งอาจพบชื้นของลูกรังล้วนๆ แต่เกาะตัวกันหลวมๆ

                 5.4 Epiaquults
                    ลักษณะส�าคัญของกลุ่มดินใหญ่นี้คือ ดินมีชั้นดินล่างวินิจฉัยอาร์จิลลิก มีสภาพความชื้นแอควิก
            ประเภทที่อิ่มตัวด้วยน�้าแบบ  Episaturation  เนื่องจากภายในความลึก  200  ซม.จากผิวดินจะอิ่มตัว

            ด้วยน�้าไม่ตลอดทุกชั้น  อาจจะมีชั้นใดชั้นหนึ่งหรือมากกว่าไม่อิ่มตัวด้วยน�้าเกิดขึ้น  แบ่งโดยใช้ชั้นอนุภาค
            ได้ 1 พวกคือ loamy - skeletal over fragmental Epiaquults

                    loamy  -  skeletal  over  fragmental  Epiaquults  มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนกรวดที่มี
            ชั้นอนุภาคดินทั้ง 2 ชั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจนในช่วงควบคุม ได้แก่ ชุดดินอ้น (On : On)
                    ชุดดินอ้น (On : On) จัดอยู่ใน loamy-skeletal over fragmental, mixed, subactive,

            isohyperthermic  Aeric(Plinthic)  Epiaquults  เกิดจากการทับถมของตะกอนล�าน�้าเก่าบนลานตะพัก
            ล�าน�้าระดับต�่า สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 เปอร์เซ็นต์

            มีการระบายน�้าเลว ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านได้เร็วในดินบนและช้าในดินล่าง มีการไหลบ่าของน�้า
            บนผิวดินช้า ตามปรกติแล้วระดับน�้าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร ในฤดูแล้ง
                    ดินบนลึกไม่เกิน 13 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินทรายปนร่วน สีพื้นเป็นสีน�้าตาล

            ปนเทาหรือสีน�้าตาล  มีจุดประสีเหลือง  น�้าตาล  หรือสีแดง  ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด
            (pH 5.5-6.0) ส่วนดินล่างดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายที่มีก้อนกรวดและหินปะปนค่อนข้างมากถึงมาก
            อยู่ในเนื้อดิน  มีสีเทาอ่อน  หรือสีเทาปนน�้าตาลอ่อน  มีจุดประสีแดง  น�้าตาลปนเหลือง  ปฏิกิริยาของดิน

            เป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.0)
                 5.5 Plinthudults
                    ลักษณะส�าคัญของกลุ่มดินใหญ่คือดินมีชั้นดินล่างวินิจฉัยอาร์จิลลิก  มีสภาพความชื้นดินแบบยูดิก



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                             การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว  101
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110