Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมตร ในบริเวณที่ราบลุ่มน�้าขึ้นถึงในยุคก่อนๆ สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะเป็นที่ราบ และมีน�้าท่วมในฤดูฝน
ประมาณ 4-5 เดือนในรอบปี ชุดดินนี้เป็นดินเหนียวลึก ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านได้ช้า
ดินบนลึกประมาณ 15-25 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีพื้นเป็นสีเทาเข้มมาก มีจุด
ประสีน�้าตาลแก่ตลอด ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก (pH 4.5) ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียว สีพื้นเป็น
สีน�้าตาลปนเทา และมีสีเทาเข้มลงไปในตอนล่างๆ มีจุดประสีเหลืองฟางข้าว และมีจุดประสีแดงปะปน
บ้างเล็กน้อย ลักษณะจุดประสีเหลืองนี้จะอยู่ในระยะลึกไม่เกิน 40 ซม. ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า catclay
ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5)
2) ชุดดินรังสิต (Rangsit : Rs) จัดอยู่ใน very fine, mixed, semiactive,
isohyperthermic Sulfaqueptic Dystraquerts เกิดจากตะกอนที่ถูกน�้าพัดพามาทับถมโดยน�้ากร่อย
(brackish water) ในบริเวณซึ่งอดีตน�้าทะเลเคยท่วมถึง สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบ มีความ
ลาดชัน 1 เปอร์เซ็นต์ ดินชุดนี้เป็นดินลึก มีการระบายน�้าเลว ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านได้ช้ามาก
มีการไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า ตามปรกติแล้วระดับน�้าใต้ดินอยู่ต�่ากว่า 1 เมตร
ดินบนลึกไม่เกิน 25 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด สีพื้นเป็นสีด�า หรือน�้าตาลปน
ด�าเข้ม มีจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง และสีแดงบ้างเล็กน้อย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก (pH 4.5)
ส่วนดินล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด มีสีน�้าตาล หรือสีน�้าตาลปนด�า มีจุดประสีน�้าตาลเข้ม และมีจุดประ
สีแดงมากขึ้นกว่าดินชั้นบน จะพบสารสีเหลืองฟางข้าว(jarosite) ในระดับความลึกต�่ากว่า 40 ซม.ลงไป
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก(pH 4.0 หรือ< 4.0) ระดับที่ต�่ากว่า 80 ซม.ลงไป สีของดินจะเป็นสีน�้าตาล
หรือสีด�าปนเทา มีจุดประสีน�้าตาลปนเหลือง และสีแดงเพิ่มมากขึ้น
3) ชุดดินเสนา (Sena :Se) จัดอยู่ใน very fine, mixed, active, isohyperthermic
Sulfaqueptic Dystraquerts เกิดจากตะกอนน�้ากร่อยที่มีอายุมาก สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะราบเรียบ
มีความลาดชัน 1 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้เป็นดินลึก มีการระบายน�้าเลว ดินมีความสามารถให้น�้าซึมผ่านช้า มี
การไหลบ่าของน�้าบนผิวดินช้า
ดินบนลึกไม่เกิน 40 ซม. มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีพื้นเป็นสีเทาเข้มมาก ถึงด�า มีจุด
ประสีน�้าตาลและสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.0) ตอน
ล่างของดินชั้นนี้อาจพบจุดประสีแดง และผลึกของยิปซั่ม ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว สีพื้นเป็นสีน�้าตาลปน
เทาหรือสีอ่อนของเทาปนน�้าตาล มีจุดประสีแดง สีเหลืองปนน�้าตาล ซึ่งจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ใน
ระดับความลึกตั้งแต่ 40-100 ซม. ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก(pH 4.0-4.5)
4) ชุดดินธัญบุรี (Thanyaburi : Tan) จัดอยู่ใน very fine, mixed, semiactive,
isohyperthermic Sulfaqueptic Dystraquerts พบในพื้นที่ราบน�้าท่วมในฤดูฝน สภาพพื้นที่ที่พบมี
ลักษณะราบเรียบ ชุดดินนี้เป็นดินลึก มีการระบายน�้าเลวความสามารถในการอุ้มน�้าสูง ความสามารถให้
น�้าซึมผ่านได้ช้า
106 การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว