Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีการระบายน�้าออก ดินมีอนุภาคดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป จะมีอินทรีย์คาร์บอนร้อยละ 18
ขึ้นไป ถ้าดินไม่มีอนุภาคดินเหนียวจะมีอินทรียคาร์บอนร้อยละ 12 ขึ้นไป ถ้าดินมีอนุภาคดินเหนียว
น้อยกว่าร้อยละ 60 จะต้องมีอินทรียคาร์บอนตั้งแต่ร้อยละ 12 รวมกับ ร้อยละอนุภาคดินเหนียวคูณด้วย
0.1 และในช่วงความลึก 80 ซม.จากผิวดินจะต้องมีวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 40 ซม. พบมากในภาคใต้
ส่วนในภาคตะวันออกพบเป็นบริเวณเล็กๆ ดินนาที่จัดอยู่ในอันดับนี้มี 1 กลุ่มดินใหญ่ คือ Haplofibrists
กลุ่มดินใหญ่ Haplofibrists มีลักษณะส�าคัญ คือ วัสดุดินอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการสลายตัว
เล็กน้อยที่เรียกว่าไฟบริก (Fibric) ไม่มีอุณหภูมิดินแบบไครอิก (Cryic soil temperature regime) และ
วัสดุอินทรีย์ไม่ใช่สแฟกนัม (Sphagnum) ได้แก่ ชุดดินนราธิวาส (Narathiwat : Nw)
ชุดดินนราธิวาส (Narathiwat : Nw) จัดอยู่ใน dysic, isohyperthermic, Typic Haplofibrists
เกิดจากการทับถมและสลายตัวผุพังของรากพืชมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนที่สลายตัวไปหมดจนไม่สามารถ
บอกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช จะเกิดเป็นอินทรียวัตถุที่เรียกว่า “มัค” ส่วนที่ยังคงรูปเป็นชิ้นส่วน
ของพืชอยู่เป็นอินทรียวัตถุที่เรียกว่า “พีต” แต่เท่าที่พบมักจะมีปะปนกันทั้งสองอย่างจึงเรียกดินชนิดนี้ว่า
“ดินพีตและมัค” สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ อยู่ระหว่างเนินทรายเก่า มีน�้าขังอยู่
ตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า “พรุ” ดินชุดนี้มีการระบายน�้าเลวมาก มีความสามารถในการอุ้มน�้าสูง มีการ
ยืดหดตัวมาก
ดินบนเป็นชั้นอินทรียวัตถุหนามากกว่า 40 ซม. บางแห่ง เช่นตอนกลางๆ ของแอ่งอาจจะมี
ความหนามากกว่า 2 เมตร มีสีด�าหรือสีเข้มมากของสีน�้าตาลปนเทา สีน�้าตาลเข้มหรือสีน�้าตาลปนแดง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.0) ส่วนดินล่างส่วนใหญ่จะเป็นดินเหนียวปน
ทราย หรือดินเหนียว ในบางแห่งที่อยู่ใกล้กับดินชุดบ้านทอน หรือดินชุดบาเจาะจะมีเนื้อดินเป็นดินทราย
มีสีพื้นเป็นสีเทาอ่อน หรือสีขาว มีจุดประสีน�้าตาลเข้มหรือสีน�้าตาลปนเหลือง
ตอนที่ 2
การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าวตามกลุ่มชุดดิน
การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าวตามกลุ่มชุดดินนั้น ในที่นี้หมายถึงดินที่พบในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น�้าขัง
นั่นเอง ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้จ�าแนกกลุ่มชุดดินทั้งประเทศ ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ออกเป็น 62 กลุ่มชุดดิน
เรียงล�าดับจากกลุ่มชุดดินที่ 1–62 ส�าหรับดินที่ใช้ปลูกข้าว ซึ่งเป็นดินที่พบในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น�้าขังนั้น
คือกลุ่มชุดดินที่ 1-25 และ กลุ่มชุดดินที่ 57 58 (ส�านักส�ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. 2548) ซึ่งเมื่อ
ใช้สมบัติของเนื้อดินบริเวณที่พบ และลักษณะพิเศษบางประการ มาแบ่งแยกเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการดิน
สามารถจ�าแนกได้เป็น 11 กลุ่มดังนี้
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว 111