Page 120 -
P. 120
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค�าน�า
ดินที่เป็นปัญหาต่อการเกษตร คือดินที่สมบัติทางเคมีหรือสมบัติทางฟิสิกส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกัน ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงเป็นอุปสรรคต่อการใช้ดินเพื่อการเพาะปลูก
การปลูกพืชในดินที่มีปัญหาโดยไม่แก้ไขให้ลุล่วงไปก่อน จะได้ผลผลิตพืชต�่ามากไม่คุ้มกับแรงงานและทุนที่
เสียไป ทางที่ดีผู้เกี่ยวข้องควรประเมินให้ทราบลักษณะและความรุนแรงของปัญหา ความพร้อมของปัจจัย
ที่สนับสนุน ตลอดจนความคุ้มของการลงทุนเพื่อปรับปรุงดิน หากเห็นว่าคุ้มก็ใช้กระบวนการที่เหมาะสม
เข้าปรับปรุงให้ตรงกับสาเหตุที่แท้จริง แล้วจึงจะน�าพื้นที่ดังกล่าวมาใช้เพื่อการเพาะปลูก ขณะเดียวกันก็
ควรเลือกปลูกพืชที่ทนต่อสภาพปัญหานั้น และมีมาตรการเสริมเพื่อช่วยให้ดินที่ได้รับการปรับปรุง ให้มี
สมบัติต่างๆ ดีขึ้น แล้วคงสภาพดีต่อไปอย่างยั่งยืน
ดินที่เป็นปัญหาต่อการเกษตรในประเทศไทยมี 7 ชนิด คือ ดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ ดิน
เปรี้ยวจัด ดินกรด ดินทราย ดินตื้น ดินอินทรีย์ และดินบนพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
ส�าหรับดินที่เป็นปัญหาในการปลูกข้าวที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่ คือ ดินเปรี้ยวจัดหรือกรดจัด
(acid sulfate soils) และดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ (salt affected soils) จึงขอกล่าวถึงเฉพาะ
ดินที่เป็นปัญหาในการปลูกข้าว 2 ชนิดนี้ โดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ดินเปรี้ยวจัด และตอนที่ 2
ดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ ในแต่ละตอนได้อธิบายสมบัติ ก�าเนิด การจ�าแนก การกระจายในประเทศ
ไทย และแนวทางการปรับปรุงเพื่อใช้ในการปลูกข้าว ส�าหรับผู้สนใจที่ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับดินที่มี
ปัญหา 2 ชนิดนี้ ควรศึกษาจากบทความเรื่อง ธรรมชาติของดินเปรี้ยวจัดและการจัดการ (นงคราญ, 2557)
เคมีของกระบวนการแกล้งดินเปรี้ยวจัด (แสงดาว และ ธนภัทร์สกรณ์, 2557) การเกิดและสัณฐานวิทยา
ของดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือ (นภาพร, 2557) และแนวทางการแก้ปัญหาดินเค็มในประเทศไทย
(ไพรัช, 2557)
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เน้นเรื่องข้าว จึงมีค�าอธิบายเรื่องสรีรวิทยาของข้าวที่เกี่ยวข้องกับความ
ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวจัด และความทนเค็มค่อนข้างละเอียด รวมทั้งมีบางประเด็นที่เชื่อมโยงกับเรื่อง
ธาตุอาหารของข้าว ที่จะได้อธิบายในบทต่อๆ ไป
116 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว