Page 122 -
P. 122

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    3) พบจาโรไซต์ (jarosite) ในชั้นดิน จาโรไซต์มีสีเหลืองฟางข้าว ปรากฏอยู่ที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง
          ในหน้าตัดดิน ชั้นที่พบจาโรไซต์มีพีเอช 3.50-3.65 หรือต�่ากว่านี้ จาโรไซต์เป็นแร่ที่มีโพแทสเซียม เหล็ก

          และซัลเฟตในองค์ประกอบ สูตรทางเคมีคือ KFe (SO )  (OH) 6
                                                      4 2
                                                  3
                  ดินเปรี้ยวจัด เป็นดินที่พบในพื้นที่ลุ่มต�่า มีเนื้อดินเหนียวจัด อุ้มน�้าได้ดี จึงเป็นดินที่มีศักยภาพ
          เหมาะสมส�าหรับการท�านาปลูกข้าว  ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ใช้ประโยชน์ในการท�านาสูงถึง 3.4

          ล้านไร่ คิดเป็น 54.8 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดของประเทศ อย่างไรก็ตาม จากสภาพปัญหาของ
          ดินเปรี้ยวจัด ข้าวที่ปลูกไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร และให้ผลผลิตต�่ามาก ประมาณ 20-30 ถังต่อไร่เท่านั้น



          2. การแจกกระจายพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในประเทศไทย
                  ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางตอนใต้ ภาคตะวันออก

          และภาคใต้ของประเทศ    รวมเนื้อที่  5,565,347  ไร่    พื้นที่ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง  มีเนื้อที่
          3,185,877 ไร่ แบ่งเป็นดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันตื้น (0-50 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 238,367

          ไร่ ดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึกปานกลาง (50-100 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 1,714,381 ไร่
          และดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึกมาก (มากกว่า 100 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 1,233,129 ไร่
          รองลงมาพบพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในภาคใต้  มีเนื้อที่  1,490,536  ไร่  แบ่งเป็นดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรด

          ก�ามะถันตื้น  (0-50  เซนติเมตร)  จ�านวนเนื้อที่  362,502  ไร่  ดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึก
          ปานกลาง (50-100 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 849,197 ไร่ และดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึก

          มาก (มากกว่า 100 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 278,837 ไร่ และในภาคตะวันออก มีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
          จ�านวน 888,934 ไร่ ดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันตื้น (0-50 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่ 124,651
          ไร่  ดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึกปานกลาง (50-100 เซนติเมตร) จ�านวนเนื้อที่  414,539 ไร่

          และดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรดก�ามะถันลึกมาก  (มากกว่า  100  เซนติเมตร)  จ�านวนเนื้อที่  349,744  ไร่
          ซึ่งดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นกรดก�ามะถันตื้น  จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดรุนแรงมาก  ดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นกรดก�ามะถัน

          ลึกปานกลาง  จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดรุนแรงปานกลาง  และดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นกรดก�ามะถันลึกมาก  จัดเป็น
          ดินเปรี้ยวจัดรุนแรงน้อย (ตารางที่ 4.2)



          3.  ปัญหาของดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว
                  3.1 ความเป็นกรดของดิน (soil acidity) ความเป็นกรดของดินจะเป็นอันตรายต่อพืชโดยตรง

          เมื่อดินมี pH ต�่ากว่า 3.0 ไฮโดรเจนไอออนที่มีความเข้มสูงๆ เป็นพิษต่อพืชได้ การแตกแขนงของรากจะ
          ถูกยับยั้ง และในกรณีที่กรดรุนแรงมากขึ้นปลายรากจะตาย ท�าให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตจนให้ผลผลิต
          ได้ (ภาพที่ 4.1) Thawornwong and van Diest (1974) รายงานว่า ความเป็นกรดจัดมากๆ โดยเฉพาะ

          ที่ pH 3.5 จะมีผลท�าให้ข้าวไม่สามารถดูดธาตุอาหารพวกโลหะไอออนบวกได้ดี ท�าให้ธาตุบางชนิด เช่น




          118 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127