Page 108 -
P. 108

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                                  5) ผลตอบแทนสุทธิและส่วนเหลื่อมการตลาด
                                  กลุ่มเกษตรกรบ้านร่มเกล้าสามารถผลิตเส้นใยได้ รุ่นละ 2.97 กิโลกรัมใยไหม ราคาเฉลี่ย

                       จากการขายใยไหม 254.67 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม ต้นทุนการผลิตใยไหมเฉลี่ย 542.11  บาทต่อ
                       กิโลกรัมใยไหม และราคาเฉลี่ยจากการขายดักแด้ 1,466.46 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม ดังนั้นถ้า

                       เกษตรกรไม่ท้าการแปรรูปโดยขายผลผลิตเป็นใยไหมและดักแด้ จะได้ผลตอบแทนสุทธิ  1,179.02
                       บาทต่อกิโลกรัมใยไหม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดในขั้นนี้ เท่ากับ 254.67 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม

                                  ในกรณีเกษตรกรแปรรูปเป็นเส้นด้ายจ้าหน่ายพบว่า  เกษตรกรบ้านร่มเกล้าสามารถ

                       ผลิตเส้นด้ายได้เฉลี่ย 1.44 กิโลกรัมเส้นด้าย จะได้ราคาขายเฉลี่ย 999.60  บาทต่อกิโลใยไหมโดยมี
                                                                             3
                       ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยจากการปั่นด้าย 919.71 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม  ผลตอบแทนสุทธิจากการปั่นด้าย
                       79.90  บาทต่อกิโลกรัมใยไหม เมื่อรวมรายได้จากการขายดักแด้ คิดเป็น ผลตอบแทนสุทธิจากการ

                       จ้าหน่ายด้ายและดักแด้ 1,546.36 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเพิ่มสูงขึ้นเป็น
                       744.93 บาทต่อกิโลกรัมใยไหม

                                  ในกรณีเกษตรกรแปรรูปสูงขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ผ้า พบว่าเกษตรกรบ้านร่มเกล้าจะทอ
                       ผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่จ้าหน่าย เฉลี่ย 2.16 กิโลกรัมผ้าต่อปี ราคาเฉลี่ยจากการขายผ้า 3,222.21

                       บาทต่อกิโลกรัมใยไหมต่อปี โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 1,150.10  บาทต่อกิโลกรัมใยไหมต่อปี
                       เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิจากการขายผ้า 2,072.12 บาทต่อกิโลกรัมใยไหมต่อปี เมื่อรวมรายได้

                       จากการขายดักแด้ เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนสุทธิ 3,538.58 บาทต่อกิโลกรัมใยไหมต่อปี ส่วน

                       เหลื่อมการตลาดจะเพิ่มสูงขึ้น 2,222.61 บาทต่อกิโลกรัมใยไหมต่อปี จะเห็นได้ว่าเมื่อเกษตรกรท้าการ
                       แปรรูปเป็นด้าย หรือผ้า จะท้าให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้นตามล้าดับ (ตารางที่ 3.5)



                        ตารางที่ 3.5 ต้นทุนการผลิต ราคาขาย ผลตอบแทนสุทธิและส่วนเหลื่อมการตลาดของกลุ่ม
                                   เกษตรกรบ้านร่มเกล้า อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่
                                                                               (หน่วย : บาทต่อกิโลกรัมใยไหม)

                                                                     ผลตอบแทน
                                   ต้นทุน                             สุทธิจาก                ส่วนเหลื่อม
                                  ทั้งหมด                 ราคาขาย     ผลผลิตใย   ผลตอบแทน     การตลาด
                                                                                          1
                                   เฉลี่ย   ต้นทุนส่วนเพิ่ม   เฉลี่ย    ไหม      สุทธิทั้งหมด    (Margin)

                        รังไหม    542.11         -         254.67     -287.44     1,179.02     254.67
                        เส้นด้าย   919.71      377.60      999.60      79.90      1,546.36     744.93
                         ผ้าทอ    1,150.10     230.39     3,222.21    2,072.12    3,538.58     2,222.61
                         รวม                  1,150.10



                       3
                        ต้นทุนในการปั่นด้ายทั้งหมด = ต้นทุนในการลอกกาว +  ต้นทุนในการปั่นด้าย
                                                               89
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113