Page 99 -
P. 99
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒. เกษตรกรที่มีฐานะยากจนมากๆ มีที่ดินน้อย จะไม่ค่อยสนใจดูแลสัตว์เพราะต้องไปรับจ้างหาเงินเลี้ยงดู
ครอบครัว ต้องดูเกษตรกรที่ต้องการสัตว์จริงๆ และอยู่อาศัยในพื้นที่ตลอดทั้งปี
๓. การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการหากสามารถรวมกลุ่มเกษตรกรได้ จะท�าให้การบริหารจัดการสะดวก
มากขึ้น
๔. ผู้ใหญ่บ้าน อบต. คณะกรรมการหมู่บ้าน ต้องช่วยกันพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรก่อนเสนอนายก อบต.
และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อพิจารณาให้การรับรองต่อไป
กำรจัดตั้งกลุ่ม
๑. ประชุมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการบริหารโครงการในแต่ละกลุ่มเพื่อให้แต่ละ
กลุ่มมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ
๒. เกษตรกรจะต้องจัดเตรียมคอกสัตว์ ให้มั่นคง แข็งแรง มีพื้นที่ปลูกหญ้าให้สัตว์กิน
๓. หากเกษตรกรต้องการพันธุ์พืชอาหารสัตว์ เจ้าหน้าที่จะต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การสนับสนุน
ต่อไป
๔. ต้องท�าความเข้าใจชี้แจงให้เกษตรกรได้รับทราบรายละเอียดระเบียบและเงื่อนไขของโครงการ
๕. ให้สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจการด�าเนินโครงการ การติดตามตรวจสอบ
กำรสนับสนุนพันธุ์สัตว์
๑. เมื่อสัตว์ส่งถึงพื้นที่ กลุ่มจะต้องจัดเตรียมพื้นที่ลงสัตว์ โดยเฉพาะคอกพักสัตว์ชั่วคราวต้องแข็งแรงมั่นคง
ซึ่งจะใช้กักสัตว์หลังส่งมอบ รวมทั้งใช้เป็นสถานที่จับฉลากโค-กระบือให้กับเกษตรกร เพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรม
และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีการรับมอบโค-กระบือด้วย
๒. คอกกลางของหมู่บ้าน ซึ่งใช้เป็นที่รวบรวมสัตว์ เพื่อฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิผสมพันธุ์ รวมทั้งการจัดการ
สุขภาพอื่นๆ
๓. ผู้รับสัตว์ต้องจัดเตรียมเชือกหรือเปลี่ยนสายสะพายใหม่เพื่อความมั่นคง
กำรติดตำมและให้ค�ำแนะน�ำ
๑. การติดตามความก้าวหน้าของโครงการ หากสัตว์มีจ�านวนน้อยเจ้าหน้าที่ต้องติดตามเองหากมีสัตว์
จ�านวนมากจะต้องคัดเลือกผู้ติดตามโครงการโดยคัดจากผู้ใหญ่บ้านหรือ อบต. ที่เกษตรกรนับถือและเคารพ
๒. การติดตามโครงการปีละ ๒ ครั้ง โดยประชาสัมพันธ์ในวันประชุมก�านัน ผู้ใหญ่บ้านและจัดพิมพ์รายชื่อ
เกษตรกรที่ยืมสัตว์โครงการ มอบให้ผู้ติดตาม และให้จัดส่งคืนปศุสัตว์โดยเร็ว
๓. การแจ้งลูกโค-กระบือเกิดให้แจ้งเป็นหนังสือทุกต้นเดือน ตายหรือเจ็บป่วย แจ้งตลอดเวลาโดยด่วน
ทางโทรศัพท์หรือวิทยุอ�าเภอ ลูกโค-กระบือเพศผู้ที่อายุครบ ๑๘ เดือน ให้จ�าหน่ายน�าเงินเข้าโครงการ ส่วนเพศเมีย
เมื่ออายุครบ ๑๘ เดือน น�าไปมอบให้เกษตรกรรายอื่นยืมเพื่อการผลิตต่อไป
๔. สัตว์แม่พันธุ์ที่ครบสัญญายืมเพื่อการผลิต ๕ ปี และเกษตรกรได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว ให้ประชุมแจ้งให้
เกษตรกรทราบว่าจะได้รับกรรมสิทธิ์ในตัวสัตว์ และจะต้องดูแลสัตว์แม่พันธุ์ไว้เป็นอย่างดี
๕. รายงานความก้าวหน้าโครงการในที่ประชุมก�านัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และหัวหน้าส่วนราชการได้ทราบ
ความเคลื่อนไหวโครงการตลอดเวลา
กับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์พัฒนาควายไทยและเครือข่ายคนรักควาย 97
๑๖ ปี สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย