Page 93 -
P. 93

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               9.  กำรวิเครำะห์ควำมเป็นไปได้ของโครงกำร

               ด้ำนกำรตลำด

                       ความต้องการบริโภคเนื้อโคของประเทศไทยในปี 2549-2556 มีปริมาณโดยเฉลี่ย 1.25 ล้านตัวต่อปี
               หรือมีอัตราบริโภคเนื้อโคเฉลี่ย 2.85 กิโลกรัม/คน/ปี เนื้อโคที่บริโภคภายในประเทศเป็นเนื้อโคที่มาจากโคเลี้ยง

               ในประเทศทั้งลูกผสมและโคพื้นเมืองประมาณ 1 ล้านตัว และปริมาณที่ขาดอยู่อีกประมาณ 2 แสนตัว
               เป็นการน�าเข้าโคมีชีวิตจากประเทศเพื่อนบ้าน
                       ด้านราคาโคมีชีวิตตั้งแต่ปี 2547-2554 ราคาค่อนข้างคงที่อยู่ในระดับ 43-50 บาท/กิโลกรัม

               โดยระดับราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นช่วงปลายปี 2554 และในปี 2555 เพิ่มเป็น 58 บาท/กิโลกรัม ปี 2556
               เพิ่มเป็น 70 บาท และปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 90-92 บาท/กิโลกรัม (กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กองส่งเสริม
               และพัฒนาการปศุสัตว์) จากสถานการณ์ด้านราคาที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่มีมากขึ้น

               ทั้งความต้องการบริโภคเนื้อโคในประเทศและความต้องการของตลาดส่งออก ในขณะที่ปริมาณผลผลิตโคเนื้อ
               ในประเทศมีปริมาณลดลง จึงต้องน�าเข้าโคเนื้อจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เพื่อส่งออกไป
               ประเทศเพื่อนบ้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเชีย รวมถึงการส่งผ่าน

               ต่อไปยังประเทศจีนที่เป็นตลาดใหญ่มีความต้องการบริโภคเนื้อโคจ�านวนมาก
                       ด้านตลาดการค้าโคเนื้อระหว่างประเทศ ในปี 2556 ข้อมูลจากกรมศุลกากรประเทศไทยมีการน�าเข้า

               โคมีชีวิตจากประเทศเมียนมาร์ 128,384 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับการน�าเข้าในปี 2555 และมี
               การน�าเข้าเนื้อโคขุนคุณภาพสูงเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศจ�านวน 6,228 ตัน มูลค่า
               1,192 ล้านบาท โดยเป็นการน�าเข้าจากประเทศในกลุ่มโอเชียเนีย ได้แก่ ออสเตรเลีย (62.6%) นิวซีแลนด์ (32.6%)

               และประเทศนอกกลุ่มโอเชียเนีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (3.8%) ญี่ปุ่น (0.5%) และอื่นๆ (0.5%)
                       ส�าหรับการส่งออกโคเนื้อ ในปี 2556 โคเนื้อทั้งหมดส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน

               จ�านวน 218,025 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับการส่งออกในปี 2555 ประเทศคู่ค้าที่ส�าคัญ ได้แก่
               ประเทศลาว (80%) กัมพูชา (15%) และมาเลเซีย (5%)

               ด้ำนเทคนิค
                       ในปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทยจะมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเลี้ยงแบบปล่อยให้กินหญ้า

               ตามที่สาธารณะจะค่อยๆ หมดไป เพราะพื้นที่มีจ�ากัด ขาดแคลนแหล่งน�้า ภัยธรรมชาติมีมากขึ้น และค่าแรงงาน
               สูงขึ้น โครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพได้ปรับรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อแบบประณีต  (Intensive Farm)
               เลี้ยงโคในโรงเรือนที่มีขนาดเหมาะสมกับจ�านวนโค มีการจัดการพืชอาหารสัตว์ ท�าให้ใช้พื้นที่และแรงงานน้อยลง

               ประสิทธิภาพของการผลิตเพิ่มสูงขึ้น มีการใช้ประโยชน์จากมูลโคเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือพลังงานทดแทน
               ซึ่งเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงโคเนื้อแบบประณีต

                       ส�าหรับการจัดการอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องจะต้องให้ความส�าคัญด้านอาหารหยาบ เกษตรกร
               ต้องใช้ความรู้เรื่องการปลูกพืชอาหารสัตว์หรือการท�าแปลงหญ้า และการส�ารองพืชอาหารสัตว์ที่มีมาก
               ในช่วงฤดูฝนในรูปของหญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก (Silage) เพื่อใช้ในฤดูแล้ง สร้างความมั่นคงทางอาหารตลอดทั้งปี

               เพื่อให้โคเนื้อมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของพันธุกรรม สุขภาพแข็งแรง มีอัตราการสร้างเนื้อที่คุ้มค่า








                                                                           คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่  91
                                                                     Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98