Page 56 -
P. 56
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
56
3.2.1.4 กลุ่มตัวอย่างและการเก็บข้อมูล (sampling size and sampling procedure)
การเก็บข้อมูลและการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสําคัญต่อการทําวิจัย ซึ่งใน
การทําวิจัยครั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักการในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) กลุ่มตัวอย่าง
การกําหนดจํานวนกลุ่มตัวอย่างมีความจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับการสํารวจ State preference
เนื่องจากข้อจํากัดทางด้านงบประมาณและระยะเวลาในการสํารวจทําให้ไม่สามารถดําเนินการสํารวจ
ให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จึงจําเป็นที่จะต้องกําหนดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการกําหนดกลุ่ม
ตัวอย่างในงานวิจัยลักษณะนี้ขึ้นกับจํานวนชุดทางเลือกจากการออกแบบการทดลองทางเลือก หาก
จํานวนชุดทางเลือกมีจํานวนมาก (มากกว่า 10 choice sets) จําเป็นจะต้องมีการทําบล็อคหรือจัดกลุ่ม
ของชุดทางเลือก (block sets) เพื่อเป็นการลดความกดดันของผู้ตอบแบบสอบถามในการเลือกทางเลือก
ต่างๆ เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามมีขีดจํากัดในการจัดการกับข้อมูล ข้อมูลที่มากเกินไปและอาจจะ
ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจและผลการศึกษาซึ่งในที่นี้ได้แบ่งข้อคําถามออกเป็นสี่กลุ่ม กลุ่ม
ละเก้าคําถาม
ในการกําหนดจํานวนตัวอย่างควรจะต้องมีไม่น้อยกว่าจํานวนตัวอย่างกลุ่มย่อยขั้นตํ่าในแต่ละ
กลุ่ม จึงจะสามารถนํามาคํานวณทางสถิติได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ (Bennett et al., 2001) จํานวน
ตัวอย่างที่เหมาะสม (sample size =N) ของแต่ละกลุ่มย่อยขึ้นกับจํานวนทางเลือกที่มีในแต่ละชุด
ทางเลือก (alternative per card= A) และจํานวนระดับของคุณลักษณะโดยใช้จํานวนระดับมากที่สุด
(levels on the biggest attribute = C ) และท้ายสุดจํานวนชุดทางเลือกต่อผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งคน
(total number of choice questions per individual = T) (Kanninen, 2007) แสดงดังสูตรต่อไปนี้
≥