Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ข้อมูลและช่วยประสานงาน ข้อมูลที่ใช้ถือเป็นความลับเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจกุ้ง นับได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มที่
               มีบทบาทส าคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของประเทศไทย ความส าเร็จในการรวมกลุ่มลักษณะนี้เป็นผลมา
               จากการที่กุ้งเป็นสัตว์น ้าที่ขายได้ราคาสูงคุ้มค่าที่ผู้ประกอบการจะสละเวลามาร่วมมือกัน และจากการที่สมาชิกให้

               ความส าคัญแก่การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลซึ่งจ าเป็นต้องใช้ประกอบการวางแผนการผลิตและการค้าของแต่ละรายที่
               สามารถท าได้โดยอิสระไม่มีเงื่อนไขผูกมัด และไม่มีปัญหาเรื่องทุนด าเนินงานขององค์กร อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่มยัง
               จ ากัดอยู่ในวงของนักธุรกิจกุ้งเป็นส าคัญ

                      นอกจากการรวมกลุ่มของนักธุรกิจกุ้งยังมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในรูปของกลุ่มเกษตรกรทั้งที่จด

               ทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การจัดองค์กรชุมชนของผู้เลี้ยงกุ้งในลักษณะสหกรณ์ผู้เลี้ยง
               กุ้งมีปฏิบัติกันในหลายพื้นที่ เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าท่าจีน จ ากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าท่าทอง จ ากัด และ
               สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าปากพนัง จ ากัด และเคยมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจ านวนหนึ่งรวมกลุ่มกันจัดองค์กรชุมชนในลักษณะ
               เครือข่าย เป็นชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จ ากัด สร้างเครือข่ายเพาะเลี้ยงกุ้งตามแนวทางการจัดการ
               ฟาร์มที่ดีโดยจัดการเรื่องการตลาดรวมทั้งการส่งออก มีโอกาสที่จะพัฒนาการเลี้ยงกุ้งที่ยั่งยืนให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้
               (เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ, 2556)


                      การจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรในด้านประมงและด้านผู้เลี้ยงสัตว์น ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่
               พบว่าจุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค และปัญหาต่างๆ ของการจัดองค์กรให้ประสบความส าเร็จแตกต่างกันไปขึ้นอยู่
               กับลักษณะของแต่ละองค์กรชุมชน


                      แสงเทียน อัจจิมางกูร และคณะ (2551) รายงานไว้ว่าเหตุผลหลักของการที่สมาชิกเข้าร่วมองค์กรชุมชนใน
               รูปแบบสหกรณ์การเลี้ยงกุ้ง คือ การได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ต้องการความช่วยเหลือจากกลุ่มในด้าน เทคนิค
               การเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน และการได้รับการกู้ยืมเงิน


                      ส าหรับการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาด าโดยการให้หน่วยงานราชการจัดตั้ง ธงชัย  นิติรัฐสุวรรณ
               และคณะ (2546) กล่าวไว้ว่า เกษตรกรได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ การเลี้ยงเป็นระบบมีการพัฒนาท าให้ดีขึ้น มี
               การแลกเปลี่ยนความรู้และข่าวสาร มีความเป็นกลาง ลดความเสี่ยง เพิ่มอ านาจการต่อรอง อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่ม
               โดยให้หน่วยงานราชการจัดตั้ง มีความยุ่งยาก มีความซับซ้อนของระบบราชการ หากเกษตรกรร่วมกันจัดตั้งองค์กร จะ
               ท าให้มีอ านาจการต่อรองมากขึ้น มีระบบการเลี้ยงกุ้งที่คล้ายกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ใน
               การเลี้ยงกุ้ง


                      แสงเทียน อัจจิมางกูร และคณะ (2551) ได้สอบถามความคิดเห็นจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง
               เกี่ยวกับการด าเนินงานของสหกรณ์ พบว่าการด าเนินงานที่สหกรณ์ควรให้ความส าคัญ ได้แก่ ด้านการรับรู้ข่าวสารการ
               ประมง ข่าวสารในการเลี้ยงกุ้ง ความรู้ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและผู้น าควรมี
               ปฏิสัมพันธ์ที่ดี ไม่ควรมีผลประโยชน์แอบแฝง  ควรเสริมสร้างความรู้สึกต่อการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของสหกรณ์

               รวมทั้งไม่เน้นผลก าไร

                      ผลงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น สามารถน ามาใช้ในการจัดการองค์กรชุมชน จะน าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดองค์กร
               มาประยุกต์กับการศึกษาในครั้งนี้ เช่น ประโยชน์ของการรวมกลุ่ม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลุ่มเข้มแข็ง การสร้างความมีส่วน
               ร่วมของสมาชิก การพัฒนาระบบข่าวสารของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงาน

               ต่างๆ






                                                           1-2
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41