Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
บทน า
1.1 ความน า
ผลจากการศึกษาที่ผ่านมาในโครงการ “การสร้างเสริมความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าไทยเพื่อ
ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” พบว่าปัญหาส าคัญประการหนึ่งของ
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าในประเทศไทยคือการที่มีเกษตรกรรายย่อยจ านวนมากและมีที่ตั้งกระจัดกระจาย
เกษตรกรขาดอ านาจต่อรองทางการค้า แม้จะมีความสามารถในการผลิตก็ยังต้องพึ่งพาผู้ค้าทั้งผู้ค้าปัจจัยการผลิตและ
ผู้ค้าสัตว์น ้าซึ่งเป็นผู้ก าหนดราคาและปริมาณการค้า เพื่อแก้ปัญหานี้ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มจัดองค์กร
ชุมชนซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะของเกษตรกรในด้านการผลิตทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิต และ
สมรรถนะในด้านการตลาดทั้งการหาซื้อปัจจัยการผลิตและการขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม ทั้งยังเป็นช่องทางในการ
พัฒนาผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าให้เป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน
ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าในประเทศไทย (เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ, 2556)
การรวมกลุ่มเพื่อจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าที่ผ่านมาท ากันในหลายรูปแบบ มีทั้งที่
รวมตัวกันในรูปกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การรวมกลุ่มโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ซึ่งมักจะใช้ชื่อกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ การจัดองค์กรชุมชน
ในรูปแบบต่างๆเหล่านี้มีทั้งที่ประสบผลส าเร็จช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้า สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้
เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า และที่ไม่ประสบความส าเร็จด้วยปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นหลายประการ ต้องเลิกด าเนินการไปในที่สุด
การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาการจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า หารูปแบบและปัจจัยที่
ท าให้ประสบความส าเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขจากการรวมกลุ่มจัดองค์กรชุมชนที่
ผ่านมา เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้ารายเล็กโดยการจัดองค์กร
ชุมชน ร่วมกันพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าอย่างยั่งยืนให้เข้มแข็ง ยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้
เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า เพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงมาทดแทนปริมาณสัตว์น ้าที่ลดลงจากการท าประมงตามแหล่งน ้า
ธรรมชาติ และรักษาความเป็นผู้น าในภาคการประมงของประเทศไทย
1.2 ทบทวนเอกสารเชิงสังเคราะห์
1.2.1 การจัดองค์กรชุมชนของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าในประเทศไทย
ส าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าที่ส าคัญของประเทศไทย พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีการจัดองค์กรชุมชนหลาย
รูปแบบ ทั้งในรูปของกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง ชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง สมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง ไปจนถึงการ
รวมตัวของผู้ประกอบการในลักษณะสมาคมวิชาชีพ รวมตัวกันทั้งในระดับพื้นที่และในเชิง cluster ในบางพื้นที่ เช่น ที่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทั้งชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานีซึ่งสมาชิกมักจะมีผู้ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของฟาร์มกุ้งขนาดใหญ่
ท าธุรกิจการค้าไปพร้อมๆกับการเพาะเลี้ยงกุ้ง ให้ความส าคัญแก่การแลกเปลี่ยนข่าวสารการตลาดและราคา การรวมตัว
กันของนักธุรกิจกุ้งในจังหวัดนี้เป็นที่มาของการจัดตั้งสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย ทั้งยังมีเครือข่ายคนไทยกุ้งไทยดูแล
ข้อมูลการผลิตและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท างานผลักดันให้มีการลงทุนในต่างประเทศโดยการให้