Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                      บทสรุปผู้บริหาร



                       เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรชุมชนในรูปแบบสหกรณ์ที่สามารถเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่เกษตรกรผู้
               เลี้ยงปลานิล กําหนดเลือกศึกษาการดําเนินงานของสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิลสองแห่ง คือ สหกรณ์ประมงพาน จํากัด  และ
               สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาพัฒนาการ

               ของสหกรณ์ สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก สภาพกายภาพของพื้นที่ที่ศึกษา การผลิตและการตลาดของ
               สมาชิกผู้เลี้ยงปลานิล ความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลานิล ตามมาด้วยการ
               วิเคราะห์ผลการดําเนินงานของสหกรณ์ ประกอบด้วย จุดเด่น-จุดด้อย-โอกาส-อุปสรรค ของแต่ละสหกรณ์ กลยุทธ์ที่
               ควรใช้ในการพัฒนาสหกรณ์ สภาวะแวดล้อม-สิ่งที่มีอยู่-กระบวนการ-ผลลัพธ์ เพื่อประกอบการกําหนดแนวทางการ
               พัฒนาสหกรณ์ การมีส่วนร่วมของสมาชิก และแนวคิดระบบนิเวศวิธีที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าของสมาชิก
               สหกรณ์ จบลงด้วยการระบุปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินงานของสหกรณ์ และ เสนอแนวทางการพัฒนาสหกรณ์เพื่อ

               เสริมสร้างสมรรถนะของผู้เลี้ยงปลานิล

                       ในการศึกษาหลังจากทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะวิจัยลงพื้นที่สํารวจขั้นต้นในแต่ละพื้นที่ที่ศึกษา เพื่อ
               รวบรวมข้อมูล พัฒนาการของสหกรณ์ และ สภาพกายภาพของพื้นที่ที่ศึกษา โดยการจัดประชุม Focus  group  และ
               สัมภาษณ์เชิงลึกผู้นํา/กรรมการสหกรณ์ สมาชิกบางราย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐรวมทั้งองค์การปกครองส่วน

               ตําบล หลังจากนั้นได้ออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์กรอกแบบสอบถามจากสมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด 30
               ราย และ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด 37  ราย เนื่องจากมีรูปแบบการเลี้ยงที่หลากหลาย
               รวบรวมข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจ การเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์  การผลิต การตลาด ความสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ
               ปัญหาและอุปสรรคของการเลี้ยงปลานิล นํามาประมวลผล และกลับไปจัดประชุมเชิงชุมชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อเสนอผล
               การศึกษาขั้นต้น และหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจุดเด่น-จุดด้อย-โอกาส-อุปสรรค ของแต่ละสหกรณ์ กลยุทธ์ที่ควรใช้

               ในการพัฒนาสหกรณ์ สภาวะแวดล้อม-สิ่งที่มีอยู่-กระบวนการ-ผลลัพธ์ กับผู้เข้าประชุมซึ่งมีทั้งสมาชิกและเจ้าหน้าที่จาก
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิก และแนวคิดระบบ
               นิเวศวิธีที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าของสมาชิกสหกรณ์ นํามาประมวลผล จัดประชุมเสนอผลการวิจัยใน
               ส่วนกลาง โดยเชิญตัวแทนของแต่ละองค์กรชุมชนและเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
                       ผลการศึกษาของแต่ละสหกรณ์มีดังต่อไปนี้


                       สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด
                       ในการรับสมาชิก สหกรณ์ประมงพาน จํากัด กําหนดไว้ว่าผู้สมัครต้องได้รับการรับรองจากกรรมการ
               ดําเนินการฯ ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ที่สมาชิกตั้งบ้านเรือนอยู่ ประเด็นนี้เป็นการคัดกรองสมาชิกขั้นต้น และผู้ที่สมัครเข้ามา
               เป็นสมาชิกต้องเข้ารับการอบรมให้เข้าใจหลักการของสหกรณ์ฯ ทําให้สมาชิกได้มีโอกาสเข้าใจการเป็นเจ้าของสหกรณ์ฯ
               ที่ต้องร่วมคิดร่วมทํางาน ทราบสิทธิและหน้าที่ของตน ส่งผลให้สมาชิกเข้ามามีบทบาทร่วมกิจกรรมกับสหกรณ์ฯ ทั้งเข้า

               ร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมอื่นๆสมํ่าเสมอ และมีโอกาสรับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ
               ดําเนินงานของสหกรณ์ฯ

                       อนึ่ง การที่สมาชิกสหกรณ์ฯ เป็นเจ้าของพื้นที่เลี้ยงปลานิล ส่งผลให้สามารถลงทุนพัฒนาการเลี้ยงปลานิลได้
               เต็มที่ ช่วยให้การเลี้ยงปลานิลของสมาชิกในพื้นที่นี้ประสบความสําเร็จ เลี้ยงได้ผลดี ทํารายได้สูง ส่งผลให้สมาชิกสนใจ

               เข้าร่วมกิจกรรมของสหกรณ์ฯ

                       การที่สมาชิกมีส่วนร่วมคิดร่วมทําและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสหกรณ์ฯ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้สหกรณ์ประมง
               พาน จํากัด ประสบความสําเร็จ



                                                            vii
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12