Page 3 -
P. 3

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                         บทคัดย่อ

                       สหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิลที่ศึกษา ได้แก่ สหกรณ์ประมงพาน จํากัด และ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด
               สหกรณ์ประมงพาน จํากัด เป็นสหกรณ์ที่ได้รับความสําเร็จ สามารถเป็นตัวอย่างการจัดตั้งองค์กรชุมชนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะของ
               เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด พัฒนามาจากการที่ประธานกรรมการดําเนินการฯ ท่าน
               แรกสามารถทําความตกลงขายปลานิลให้แก่เทสโก้โลตัส ผู้เลี้ยงสัตว์นํ้าในพื้นที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก

                       สหกรณ์ประมงพาน จํากัด พัฒนามาจากกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลในอําเภอพานที่ต้องการรวมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่
               เกษตรกรด้วยกัน โดยมีผู้นําเมื่อเริ่มก่อตั้งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในพื้นที่ สมาชิกมีความเข้าใจในหลักการสหกรณ์ที่ต้องร่วมคิด
               ร่วมทําและเป็นเจ้าของสหกรณ์ จึงมีความร่วมมือกันดี ทั้งสมาชิกยังเป็นเจ้าของพื้นที่เลี้ยงปลาซึ่งช่วยให้สามารถตัดสินใจลงทุนพัฒนาการ
               เลี้ยงได้เต็มที่ ในการจัดองค์กร กรรมการจะประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มสมาชิกของแต่ละพื้นที่สามารถประสานงานระหว่างสหกรณ์ฯ กับ
               สมาชิกได้ ผู้นําสหกรณ์ฯ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของความสําเร็จ สมาชิกเห็นพ้องกันว่า ผู้นํามีความมุ่งมั่นทํางานให้แก่สหกรณ์ฯ มีความเข้าใจ
               งานบริหารจัดการสหกรณ์ฯ มีที่ทําการและพนักงานประจําที่พร้อมให้บริการแก่สมาชิก สหกรณ์ฯ จัดบริการให้สมาชิกครบถ้วน และมีการ
               วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการรับซื้อโดยให้สมาชิกที่ขายปลานิลผ่านสหกรณ์ฯ ต้องซื้อพันธุ์ปลานิลจากสหกรณ์ฯ เท่านั้น
               สหกรณ์ฯ จึงสามารถกําหนดวันจับปลาได้ ทั้งยังมีบทลงโทษสมาชิกที่ไม่ขายปลาให้สหกรณ์ฯ ตามที่ตกลงไว้ด้วยการตัดสิทธิ์การขายผ่าน
               สหกรณ์ฯ ในการดําเนินงานสหกรณ์ฯ มีการประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ส่งผลให้ได้รับความสนับสนุนจากหลาย
               หน่วยงาน สหกรณ์ฯ มีฐานะการเงินในระดับดี สามารถเข้าถึงเงินทุนอุดหนุนที่รัฐจัดให้ แนวทางการพัฒนาต่อไปเป็นเรื่องของการสร้าง
               เครือข่ายกับผู้เลี้ยงปลานิลทั้งในและนอกจังหวัดเชียงราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลานิล และ การพัฒนาช่องทางการตลาด

                       แม้ว่าสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด จะสามารถทําความตกลงขายให้กับเทสโก้โลตัสได้ แต่สมาชิกยัง
               ไม่สามารถมีผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากพอสนองความต้องการรับซื้อ สหกรณ์ฯ พยายามแก้ปัญหาโดยขอความร่วมมือจาก
               หน่วยงานกรมประมงในพื้นที่มาฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการเลี้ยงปลานิลของสมาชิก สหกรณ์ฯ แห่งนี้มีโอกาสดีที่สํานักงานจังหวัดฯ มีนโยบาย
               สนับสนุนในช่วงที่ก่อตั้งสหกรณ์ฯ ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ และ ฝ่ายตรวจบัญชีสหกรณ์ เข้าช่วยเหลือสนับสนุนและให้
               คําแนะนําในการดําเนินงาน อย่างไรก็ตามการเร่งจัดตั้งสหกรณ์ฯ ทําให้สมาชิกขาดโอกาสทําความเข้าใจในหลักการร่วมคิดร่วมทําและร่วม
               เป็นเจ้าของสหกรณ์เท่าที่ควร ซึ่งนําไปสู่ปัญหาการร่วมกันทํางาน สหกรณ์ฯ ยังมีรายได้ที่ทํากําไรไม่มาก มีทุนจํากัด ทั้งยังมีปัญหาในการ
               หาเงินมาหมุนเวียนจ่ายค่าผลผลิตให้แก่สมาชิกเนื่องจากการขายให้เทสโก้โลตัสต้องใช้เวลา 28  วันหลังจากตั้งเบิก กว่าจะได้รับเงิน
               สหกรณ์ฯ พยายามแก้ปัญหาด้วยการขอความสนับสนุนจากสํานักงานสหกรณ์จังหวัดผ่านโครงการ Whole Value Chain แต่ยังไม่ได้รับ
               ความสนับสนุน ที่ผ่านมานอกจากหน่วยงานที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือแล้ว สหกรณ์ฯ มีการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไม่
               มาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ไม่ได้รับความสนับสนุน และควรแก้ปัญหาด้วยการทํารายงานประจําปีและรายงานการเงินตาม
               ระยะเวลาที่กําหนด และเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมรับทราบการดําเนินงานของสหกรณ์ฯ

                       แนวทางการพัฒนาสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิล ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสมาชิก ให้ตระหนักในการรวมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
               ให้แก่เกษตรกร การเป็นเจ้าของสหกรณ์ที่ต้องร่วมคิดร่วมทํา ควรเริ่มจัดตั้งจากสมาชิกที่มีบรรทัดฐานใกล้เคียงกัน และสมาชิกต้องมีผลผลิต
               รวมกันมากพอสําหรับการทําธุรกิจของสหกรณ์ 2) ผู้นําสหกรณ์ ต้องซื่อสัตย์ เป็นธรรม มีเวลาทํางานให้สหกรณ์ มีความรู้ มีมนุษยส้มพันธ์

               มุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก 3)  มีที่ทําการที่สมาชิกเข้ามาติดต่อได้สะดวก และมีทุนดําเนินงานที่
               เพียงพอ ทั้งจาก ภายในสหกรณ์ ภาครัฐ และภาคเอกชน 4) ให้บริการสมาชิกครบถ้วนทั้งในด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดหาปัจจัยการ
               ผลิต การรวบรวมผลผลิต การให้ความรู้ข่าวสาร และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ภาครัฐโดยเฉพาะกรมประมงควรให้
               ความสําคัญแก่การทํางานอย่างบูรณาการในพื้นที่










                                                            iii
   1   2   3   4   5   6   7   8