Page 122 -
P. 122

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ต้นทุนผันแปรเป็น 37,791  บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 91.22  ของต้นทุนรวม ต้นทุนหลักของการเลี้ยงปลาเบญจ
               พรรณยังเป็นค่าอาหารสําเร็จรูป 19,401 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 46.83 ของต้นทุนรวม รองลงไปเป็นค่าแรงงาน 8,701
               บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 21.00 ซึ่งในจํานวนนี้ร้อยละ 19.65 เป็นค่าเสียโอกาสของแรงงานในครัวเรือน ที่เป็นแรงงานจ้างมี

               เพียงร้อยละ 1.35 อันดับที่สามเป็นค่าอาหารสมทบ 4,689 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 11.32 ตามมาด้วยค่านํ้ามันเชื้อเพลิง
               ร้อยละ 5.31 และค่าพันธุ์ปลาร้อยละ 4.53 ต้นทุนผันแปรอื่นๆ คือ มีอยู่อย่างละไม่มาก

                       อย่างไรก็ตามรายรับที่ได้จากการขายปลาจะจ่ายไปเป็นค่าอาหารสําเร็จรูป ค่านํ้ามันเชื้อเพลิง และค่าพันธุ์
               ปลาเป็นสําคัญ ในระดับผลผลิตและราคาที่ได้รับนี้ สมาชิกผู้เลี้ยงปลาเบญจพรรณไม่ได้ต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงินคืนมา

               สมาชิกที่เลี้ยงปลาเบญจพรรณแม้จะมีรายรับพอจะจ่ายต้นทุนที่เป็นตัวเงินส่วนหนึ่ง แต่เมื่อคิดรวมต้นทุนทั้งหมดแล้วยัง
               ขาดทุน

                       การเลี้ยงปลาตุ้ม(ปลาดุก) เป็นการอนุบาลปลาดุกดังได้กล่าวมาแล้ว รอบหนึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
               สมาชิกผู้อนุบาลปลาดุกยังมีกําไร แต่ไม่มากนัก จากตารางที่ 3-21 สมาชิกที่อนุบาลปลาดุก มีต้นทุนรวมเป็น 28,774

               บาท/ไร่/รอบ ลงทุนไม่มาก และใช้เวลาเลี้ยงระยะสั้น เป็นต้นทุนคงที่ 2,756 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 9.58 ของต้นทุนรวม
               ต้นทุนคงที่หลักเป็นค่าพาหนะ ร้อยละ 6.27 และค่าเสื่อมบ่อเลี้ยงร้อยละ 1.42

                       ในส่วนของต้นทุนผันแปร 26,018  บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 90.42  ของต้นทุนรวม ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร
               สําเร็จรูป 11,958 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 41.56  ตามมาด้วยค่าพันธุ์ปลาดุกขนาดจิ๋ว 7,910 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 27.49

               ที่ซื้อมาอนุบาล และค่าแรงงาน 4,507 บาท/ไร่/รอบ ร้อยละ 15.66 เป็นค่าเสียโอกาสแรงงานครัวเรือนร้อยละ 14.97 ค่า
               นํ้ามันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.86 ค่าเวชภัณฑ์ร้อยละ 1.86 และมีค่าอาหารสมทบ และอื่นๆอีกอย่างละไม่ถึงร้อยละหนึ่ง

                       สมาชิกอนุบาลได้ปลาตุ้ม โดยเฉลี่ย 135,875 ตัว/ไร่/รอบ ขายได้ราคาเฉลี่ยตัวละ 0.26 บาท มีรายรับ 35,327
               บาท/ไร่/รอบ สูงกว่าต้นทุนรวมอยู่ 6,553 บาท/ไร่/รอบ หรือเป็น 0.05 บาท/ตัว)


                       6) แนวโน้มการเลี้ยงสัตว์น ้า จากตารางที่ 3-22 สมาชิกร้อยละ 48.65 เห็นว่าจะยังเลี้ยงสัตว์นํ้าเท่าที่เคยทํา
               มา ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยร้อยละ 10.81 ให้เหตุผลว่า  ไม่มีเงินทุน เป็นสมาชิกที่เลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง อีกอย่าง
               ละร้อยละ 8.11 ให้เหตุผลว่าที่ทําอยู่ในปัจจุบันลงตัวดีแล้ว (ร้อยละ 5.41 เป็นสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียว และร้อย

               ละ 2.70 เป็นสมาชิกที่เลี้ยงปลาเบญจพรรณ) และมีพื้นที่เลี้ยงจํากัดเพียงเท่าที่ทําอยู่ (เป็นสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่าง
               เดียว เลี้ยงปลาเบญจพรรณ และอนุบาลปลาดุก อย่างละเท่าๆกัน) ร้อยละ 5.41 ให้เหตุผลว่าที่ทําอยู่เต็มกําลังการผลิต
               แล้ว เป็นสมาชิกที่เลี้ยงปลาเบญจพรรณ สมาชิกร้อยละ 2.70 ให้เหตุผลว่าจะเลี้ยงเท่าเดิมและจะพยายามลดต้นทุนและ
               เพิ่มมูลค่าผลผลิต นอกจากนั้น มีสมาชิกที่อนุบาลปลาดุก ร้อยละ 10.81 ที่ให้เหตุผลหลากหลายในการเลี้ยงเท่าที่ทําอยู่
               ในปัจจุบัน ได้แก่ เห็นว่าได้ราคาขายไม่ดีนัก ผลผลิตที่ได้เริ่มลดลง และมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงมากขึ้น จึงจะอนุบาล
               ปลาดุกเพียงเท่าที่ทําอยู่เท่านั้น



















                                                           3-34
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127