Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความพยายามดังกล่าวไม่ง่ายนักในสภาพการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่ดินที่สามารถจะนํามา
ขยายการเพาะปลูกได้นั้นไม่มีแล้ว หรือมีการนํามาใช้มากกว่าที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว พื้นที่ดินที่ใช้อยู่ใน
ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชมีจํานวนมาก ขนาดพื้นที่ดินต่อครอบครัว หรือต่อ
แปลงมีขนาดเล็กลง เนื่องจากจํานวนประชากรเพิ่มขึ้นและมีการแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้มรดก ที่ดินอยู่กระจัด
กระจายหลายแปลง ไม่ต่อเนื่องกัน ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กลับมีผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและการเมือง
ถือครองที่ดินขนาดใหญ่มากๆ เกษตรกรเดิมต้องตกเป็นผู้เช่าหรือต้องย้ายออกไปจากภาคการเกษตร การ
เพาะปลูกส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาน้ําฝน พื้นที่ที่ได้รับน้ําชลประทานมีไม่ถึงร้อยละ 30 ของพื้นที่เพาะปลูก
ทั้งหมดของประเทศ และถึงแม้จะอยู่ในเขตชลประทาน การได้รับน้ําชลประทานก็ได้ไม่เต็มที่ทั้งหมด
สภาวะดินฟ้าอากาศก็ไม่แน่นอนมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการเกิด Climate change ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม
ของเกษตรกร มีการนําเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากสภาพพื้นที่ดิน และ
ดินฟ้าอากาศแตกต่างกัน และแตกต่างจากประเทศผู้ผลิต ประกอบกับการใช้ที่ถูกต้องของเกษตรกรจํานวน
มากยังคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตัวอย่างเช่น การใช้ปุ๋ยในปัจจุบัน มีเกษตรเพียงร้อยละ 20
เท่านั้นที่ใช้ได้อย่างถูกต้อง อีกร้อยละ 80 ใช้ปุ๋ยปลอมบ้าง ใช้ไม่ตรงกับความต้องการของดินและพืชบ้าง ใช้
มากไปบ้าง น้อยไปบ้าง ในส่วนของแรงงาน ค่าเฉลี่ยอายุของเกษตรอยู่ที่มากกว่า 50 ปี ซึ่งอยู่ในระดับสูง
ทํางานหนักไม่ค่อยได้ เด็ก ๆ รุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะทําการเกษตรต่อไป เมื่อจํานวนแรงงานลดลง อัตราค่าจ้าง
จึงสูงขึ้น ถ้าไม่มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา อัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นไปอีก และจะมีผลต่อ ผลผลิต
และรายได้สุทธิในที่สุด มีการนําเครื่องจักรกล เครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น แต่ต้องมีการ
ดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ เครื่องจักรมีขนาดใหญ่ มีราคาแพงเกินกว่าที่เกษตรกรทั่วไปจะหามาใช้
การลงทุนซื้อและการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า จึงเป็นข้อจํากัดอย่างหนึ่ง
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ เกษตรกรเกือบทั้งหมดของประเทศมีส่วนร่วมในการ
ปลูกข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคเหนือ ส่วนในภาคตะวันออกและ
ภาคใต้ เกษตรกรจะทําการปลูกข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสม หรือสามารถปลูกได้ นอกจากนั้นข้าวยังเป็นอาหาร
หลักของคนทั้งประเทศ มีการส่งออกและได้เงินตรามาใช้ในการครองชีพและพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ เป็น
จํานวนมาก การปรับปรุงพัฒนาการผลิตข้าว จึงเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งในการพัฒนาชีวิต
ความเป็นอยู่ของคนในภาคการเกษตร ความเป็นอยู่ของคนทั้งประเทศ และภาวะเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมืองของประเทศโดยรวม ถ้ากําลังซื้อของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวดีขึ้น กิจกรรมการผลิตของภาคเศรษฐกิจ
อื่นๆ ก็จะดีตามไปด้วย
การพัฒนาการผลิตข้าวสามารถทําได้หลายด้าน แต่ด้านที่ควรให้ความสนใจด้านหนึ่งคือ การ
ใช้เครื่องจักรกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประกอบ
เป็นสัดส่วนร้อยละ 10-20 ของค่าใช้จ่ายเงินสดต่อไร่ที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด ถ้าสามารถทําให้ลดลงได้ หรือ
ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีขึ้น จํานวนการล่วงหล่นลดลง รายได้สุทธิของเกษตรกรก็จะสูงขึ้น
เครื่องจักรกลที่ใช้ในช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวข้าวคือ เครื่องหรือรถเกี่ยวนวดข้าว
ซึ่งใช้กันเป็นจํานวนมากในพื้นที่ภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะในเขตชลประทาน ที่มีการทํานาหลาย
ครั้งในรอบหนึ่งปี และเป็นพื้นที่ที่ค่าจ้างแรงงานมีอัตราแพง เนื่องจากอยู่ใกล้กรุงเทพ เป็นพื้นที่ที่มีนิคม
2