Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2-3
รอง ศยามานนท (2525: 38) ไดสรุปสาระสําคัญของธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว
พุทธศักราช 2475 ไวดังนี้
“1. กษัตริยเปนประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คําวินิจฉัยของศาลก็ดี
การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไวโดยเฉพาะก็ดี จะตองกระทําในนามของกษัตริย
2. สภาผูแทนราษฎรมีอํานาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อ
กษัตริยไดประกาศใหใชแลว ใหเปนอันไดบังคับใช
สภาผูแทนราษฎรมีอํานาจและควบคุมกิจการของประเทศ และมีอํานาจประชุมกันถอด
ถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผูใดผูหนึ่งก็ได”
นอกจากนี้ รอง ศยามานนท (2525: 39) ยังไดสรุปไวดวยวา “ธรรมนูญการปกครอง
ฉบับชั่วคราวแสดงวาคณะราษฎรไดอํานาจการปกครองไวทั้งหมด แมแตเสนาบดีก็ตองขึ้นตอคณะราษฎร”
1)
ตอมาไดมีการประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10
ธันวาคม 2475 มีบทบัญญัติ มาตรา 1 มาตรา 2 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 ดังนี้
“ มาตรา 1 สยามประเทศเปนราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบงแยกมิได ประชาชน
ชาวสยามไมวาเหลากําเนิดหรือศาสนาใด ยอมอยูในความคุมครองแหงรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา 2 อํานาจอธิปไตยยอมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริยผูเปนประมุข
ทรงใชอํานาจนั้นแตโดยบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญนี้”
“ มาตรา 6 พระมหากษัตริยทรงใชอํานาจนิติบัญญัติโดยคําแนะนํา และยินยอมของสภา
ผูแทนราษฎร
มาตรา 7 พระมหากษัตริยทรงใชอํานาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
มาตรา 8 พระมหากษัตริยทรงใชอํานาจตุลาการทางศาลที่ไดตั้งขึ้นตามกฎหมาย”
-------------------------------------
1)
ราชกิจจานุเบกษา เลม 59 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475