Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง   13
                                                           ทิศทางพืชเศรษฐกิจไทยในอาเซียน




            เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถน�าไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อ
            โรคและแมลง และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์
            พืชให้มีผลผลิตและคุณภาพตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูปและผู้
            บริโภคได้ ปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลกทั้งประเทศที่ก�าลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว
            ได้มีการใช้พันธุ์ข้าวโพดลูกผสมดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถลดต้นทุนการผลิต
            และเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยที่ในอนาคตหาก
            มีการใช้พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
            จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการสูญเสียตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอาเซียน
            เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นผู้น�าเข้าเมล็ดพันธุ์จากไทย เป็นต้น

                ในช่วงระยะเวลามากกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา (2530-2552) มีการน�าข้าวโพดเลี้ยง
            สัตว์ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ในประเทศเป็นหลักถึงร้อยละ 93.1
            ของผลผลิตทั้งหมดภายในประเทศ และมีการส่งออกในส่วนที่เหลือ แต่ความ
            ต้องการใช้ในการผลิตอาหารสัตว์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เนื่องจาก
            ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความ
            ต้องบริโภคภายในประเทศและการส่งออกแต่ละปี ท�าให้ระยะหลังมีการน�าเข้า
            เมล็ดข้าวโพดมาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศ
            ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในปีที่เกิดภาวะฝนแล้งและน�้าท่วม

                ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหารดีกว่าวัตถุดิบอื่นๆหลาย
            ชนิด และในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทยได้ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบประมาณ
            40 เปอร์เซ็นต์ของอาหารสัตว์ทั้งประเทศ จากการศึกษาข้อมูลของส�านักงาน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19