Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12
1.1.2 สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ในช่วงปี 2552-2556 ประเทศไทยมีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ
7.099-7.541 ล้านไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 4.616-5.063 ล้านตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีประมาณ 4.849-
6.402 ล้านตัน ท�าให้ต้องมีการน�าเข้าทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและจากประเทศ
นอกอาเซียนเข้ามาใช้ และคาดว่าในอนาคตจะต้องมีการน�าเข้าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้คาดหมายว่าความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะมีการ
เติบโตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.27 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตภายในประเทศนั้นคาด
ว่าจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.05 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า
อุปสงค์ของผลผลิตในประเทศในขณะนี้มีมากกว่าอุปทานแล้ว จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ต้องสร้างความมั่นคงของอุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้พอเพียงกับอุปสงค์ของ
อุตสาหกรรมภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย ในภาพรวมมีการแบ่งพื้นที่ปลูกเป็น 3 ประเภท
คือ (1) ประเภทที่มีพื้นที่เหมาะสมสูงกับเหมาะสมปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 25
ของพื้นที่เพาะปลูก (2) ประเภทพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อยหรือไม่เหมาะสม ประมาณ
ร้อยละ 28 และ (3) ประเภทบุกรุกป่า อีกร้อยละ 47 ดังนั้นปัญหาหลักของการ
ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย คือ การบุกรุกป่า ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ประเทศจะต้อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่ดังกล่าว โดยการจัดท�า Zoning ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่าง
เหมาะสม
ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ใช้
ในเขตร้อนมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ท�าให้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม
จากไทยสามารถน�าไปใช้เพาะปลูกได้ในหลายประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ กัมพูชา และ สปป.ลาว โดยมีบริษัทชั้นน�าของโลกเข้ามาตั้ง
ฐานการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูง และเหมาะสม
กับสภาพการเพาะปลูกที่หลากหลาย เพื่อให้เกษตรกรได้เลือกใช้อย่างต่อเนื่อง รวม
ทั้งบริษัทมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพสูง และธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ของภาคเอกชนในประเทศไทยมีความก้าวหน้ามาก เมื่อเทียบกับประเทศ
อื่นในกลุ่มอาเซียน นับเป็นจุดแข็งของประเทศ แต่นโยบายด้านการวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยีชีวภาพที่จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ
ยังไม่ถูกน�ามาพิจารณา ณ ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถก�าหนดนโยบายที่ชัดเจน
เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งเป็น