Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




               ครองจิตใจ จึงได้คิดอย่างนั้น มุทะลุไปในรูปอย่างนั้น มุ่งแต่จะให้ได้ คน

               จะตายสักเท่าไรก็ช่างหัวมัน อันนี้เป็นความยุ่งยากในสังคมมนุษย์ สมัย
               หนึ่งในสมัยโบราณโน้น พระเจ้าอโศกมหาราชท่านก็มีความคิดอย่างนั้น

               ในชั้นแรก ไม่มีฐานอริยธรรมอยู่ในใจตามแบบของคนอินเดีย คนอินเดีย
               เขาถือว่าธรรมะเป็นอริยธรรมของประเทศอินเดียไม่ว่าศาสดาผู้ใดจะนำา

               มาสอน เขาก็ถือว่าเป็นอริยธรรมของอินเดียทั้งนั้น เขายึดถือไว้เป็นหลัก
               เป็นฐานของจิตใจ แต่ว่าพระเจ้าอโศกในวัยหนุ่มท่านคึกคะนองไปหน่อย

               ท่านเอาฐานทิ้งเสีย ท่านต้องการให้ได้ดังใจ ท่านจึงยกทัพไปเที่ยวรุกราน
               แคว้นนั้นแคว้นนี้ ฆ่าฟันผู้คนตายไปไม่น้อย


                      ในการรบครั้งสุดท้าย รบกันที่แคว้นกาลิงคะ ซึ่งเรียกในสมัยนั้น

               ว่า แคว้นโอริสา รบกันมาก คนตายมากเหลือเกิน ท่านไปยืนบงการอยู่
               ในสนามรบ เห็นคนตายเกลื่อนกลาด เลือดนองแผ่นดิน ถ้าจะพูดเป็น

               สำานวนเขาเรียกว่า “เลือดท่วมท้องช้าง” แต่ว่าความจริงมันไม่ท่วมหรอก
               มันออกแล้วมันก็จมดินไป มันจะท่วมท้องช้างได้อย่างไร แต่อุปมาว่ามัน

               มากเหลือเกิน ตายกันเกลื่อนกลาด


                      เมื่อเห็นคนตายเช่นนั้น ฐานเดิมมันเกิดขึ้นในใจ ความรู้สึก
               ดั้งเดิมมันมีแต่ว่าความที่อยากเป็นใหญ่เป็นโต เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

               ครองบ้านครองเมืองนั้นรุนแรง เลยฐานนั้นไม่ปรากฏออกมา คือเกิด


                                                    ปาฐกถาธรรม  73
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79