Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รายการส่งงานเข้าสู่การผลิต
หน่วยผลิต 372 วันที่ 1-17-83
ใบสั่ง ขนาดรุ่น หน่วยผลิต หน่วยผลิต วันที่ วันกําหนด ชั่วโมงการทํางาน
งาน การสั่งผลิต ก่อนหน้า ถัดไป เริ่มงาน ส่ง ที่เหลืออยู่
1573 25 370 400 1-14 1-25 27.6
1688 300 370 400 1-14 1-28 40.5
1692 107 265 375 1-17 1-31 13.6
1693 14 370 342 1-17 2-4 12.0
2053 27 240 375 1-20 1-28 16.2
รูปที่ 2.4 ตัวอย่างรายการส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิต
ผู้วางแผนจะเป็นผู้พิจารณาขั้นสุดท้ายถึงลําดับใบสั่งงานในการส่งเข้าสู่การผลิตโดยอาศัย
เกณฑ์หลายๆเกณฑ์ รวมทั้งดัชนีลําดับความสําคัญที่เป็นทางการ เช่น อัตราวิกฤติ วันกําหนดส่ง การ
ควบคุมงานข้าวของหน่วยผลิตปลายนํ้า ความพร้อมของเครื่องมือ สถานะของชิ้นส่วนที่ต้องการใช้
ในงานประกอบเดียวกัน รูปแบบของการใช้พลังงาน(Energy consumption patterns) และเกณฑ์ที่
กําหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากรูปที่ 2.3 ถ้าขั้นตอนถัดไปสําหรับใบสั่ง S-4276 และ S-4518 คือ
หน่วยผลิตที่ขณะนี้มีภาระงานที่หนักมาก และใบสั่งงานแต่ละใบสั่งมีลําดับความสําคัญสูง ขณะที่
ขั้นตอนถัดไปของใบสั่ง S-4625 เป็นหน่วยผลิตที่กําลังว่างอยู่ ใบสั่งงาน S-4625 อาจจะได้รับการจัด
ให้ทําการผลิตก่อน นอกเหนือกฎเกณฑ์อัตราวิกฤติหรือวันกําหนดส่งของขั้นตอนการผลิตนี้
สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันอาจจะเกิดขึ้นได้เป็นบางครั้ง ถึงแม้จะได้รับการ
จัดการที่ดี นอกจากนั้นจากสภาพแวดล้อมซึ่งต้นทุนการใช้พลังงานสําหรับการผลิตค่อนข้างมีราคา
แพง ก็สามารถที่จะใช้เกณฑ์การจัดตารางการผลิตที่ร่วมเอาข้อจํากัดด้านการใช้พลังงานสูงสุดเข้า
มาร่วมในการพิจารณาด้วย
การปรับแก้ไขรายการส่งงานเข้าสู่การผลิต
วันกําหนดส่งและลําดับความสําคัญของใบสั่งงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจาก มี
การปรับปรุงแก้ไขผลการพยากรณ์ขึ้นไป การยกเลิกใบสั่งจากลูกค้า และอาจจะเกิดของเสียใน
กระบวนการผลิตต่อมา จากชิ้นส่วนรายการเดียวกันในรุ่นการผลิตอื่น ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า
เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นภายหลังจากได้ออกรายการส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิตในรูปที่ 2.5 ใน
วันที่ 1 สิงหาคม แล้ว